วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การคายน้ำของพืช

สวัสดีค่ะ
สัปดาห์นี้ครูให้นักเรียนรายงานหน้าชั้นเกี่ยวกับการคายน้ำของพืช ซึ่งต่างก็ให้ข้อมูลตรงกันว่าพืชสามารถคายน้ำทางปากใบ ผิวใบ และเลนติเซล (ใครที่ติดตามรายละเอียดข้อมูลจากเพื่อนไม่ทัน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากบล็อกของครูช่วงแรกๆ ได้นะคะ) แต่นักเรียนทราบไหมว่าแหล่งเกิดการคายน้ำเหล่านี้ เป็นแหล่งที่พืชใช้แลกเปลี่ยนแก๊สในกระบวนการหายใจได้ด้วย
วันนี้ครูมีข้อมูลจากเว็บของ สสวท.(ซึ่งเป็นอีกแหล่งเรียนรู้หนึ่งของนักเรียน)มาเผยแพร่ เป็นความรู้เสริมในเรื่องการคายน้ำของพืชได้อีกระดับหนึ่ง มาดูกันนะคะ
ทำไมลำต้นพืชถึงต้องมีรู
คุณเคยเห็นพืชร้องไห้บ้างไหม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างภายในของลำต้น

สวัสดีค่ะเพิ่มวิดีโอ
วันนี้มาดูโครงสร้างภายในของลำต้นพืชตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่กัน....
โครงสร้างของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ แตกต่างกัน ทำให้แบ่งชั้นของเนื้อเยื่อได้เป็น 3 บริเวณ
เรียงจากภายนอกเข้าไป ได้แก่ Epidermis Cortex และ Stele
แต่ละบริเวณก็มีรายละเอียดที่นักเรียนจะศึกษาได้จากลิงก์ต่อไปนี้นะคะ (เอาเว็บต่างประเทศมาให้ดู จะได้เคยชินกับคำศัพท์เฉพาะ..คงไม่ว่ากัน)
* ดูลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว http://www.botany.hawaii.edu/nlc_biology/1411/lab/StemLab/slide2.jpg

* ดูมัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ของข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/labs/cornb3.gif

* นี่ก็น่าสนใจ ..มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างของลำต้นพืชใบเลี่ยงคู่ที่มีเนื้อไม้ (Woody stem)ให้ศึกษาเพิ่มเติม http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/S/Stems.html

* เว็บนี้เป็นโครงสร้างภายในของลำต้น "ทานตะวัน" แสดงให้เห็นว่า เนื้อเยือชั้นเอนโดเดอร์มิส และเพริไซเคิลที่หลายตำราบอกว่าพบในราก มักไม่พบในลำต้น แต่อาจพบได้ในลำต้นพืชบางชนิด เช่น "ทานตะวัน" นี่ไง
http://www.tutorvista.com/content/biology/biology-iii/plant-histology/anatomy-dicot-stem.php

เว็บเหล่านี้มีเรื่องอื่น ๆ ให้คลิกดูต่อตามความสนใจด้วยค่ะ ลองติดตามดูนะคะ