วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

plant structure and growth

สวัสดีค่ะนักเรียน

ไหนๆโรงเรียนเราก็มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลแล้ว นักเรียนควรต้องพัฒนาคุณลักษณะตนเอง 4 ประการ ได้แก่
1. มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ
2. สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา
3. ล้ำหน้าทางความคิด
4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์

ดังนั้นบล็อกที่ครูสร้างประกอบการเรียนรู้ หากจะมีภาษาอังกฤษปนอยู่มาก ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักเรียนนะคะ
วันนี้ก็มีแหล่งสืบค้นและศึกษาด้วยตนเองมาฝากอีก หวังว่าคงจะมีประโยชน์ต่อการเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกของนักเรียนทุกคนที่เข้ามาศึกษา

http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/intro.html

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างของลำต้น

โครงสร้างลำต้นตัดตามขวางพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocot)








โครงสร้างลำต้นตัดตามขวางพืชใบเลี้ยงคู่ (dicot)








โครงสร้างบริเวณปลายยอด

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มีคนขอเซลล์พืชภาษาไทย..จัดให้ค่ะ

ความจริงนักเรียนระดับชั้น ม.5 น่าจะรู้จักคำศัพท์โครงสร้างของเซลล์เป็นภาษอังกฤษแล้วนะคะ แต่เมื่อเป็นความประสงค์ที่จัดให้ได้ก็จัดให้ค่ะ



ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/data/sunakotum/picture/1190345211.jpg

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างของราก



จากกิจกรรม 12.1 ในหนังสือเรียนชีววิทยาเล่ม 4 ของสสวท. โครงสร้างบริเวณปลายรากที่นักเรียนควรจะมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ควรเป็นตามรูปข้างล่างนี้นะคะ

พอจะสังเกตได้ไหมว่าเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ของปลายรากพืชมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
และความแตกต่างกันนี้จะทำให้แบ่งบริเวณปลายรากพืชออกได้เป็นกี่บริเวณ แต่ละบริเวณมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
ไปลองหาคำตอบกันดูนะคะ


ที่มาของภาพ http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Root/Triticum_(wheat)_root_tip/Root_tip_MC.jpg


เฉลยค่ะ


ในรูปข้างล่างนี้แบ่งปลายรากได้เป็น 4 บริเวณ ดังนี้

1. บริเวณหมวกราก (Root cap) เป็นบริเวณปลายสุดของราก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่

2.บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว (Region of cell division) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือหมวกราก ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) ที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญเริ่มแรก (Promeristem) ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลา

3.บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือบริเวณเซลล์แบ่งตัว ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก(Primary meristem) ซึ่งแบ่งตัวและขยายขนาดตามความยาวของราก

4. บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Region of cell maturation) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือบริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว และเกิดเนื้อเยื่อถาวรขึ้น ส่วนล่างของบริเวณนี้มีขนราก ( Root hair) ยื่นออกมาจากเซลล์ชั้นนอกสุดเรียกบริเวณขนราก (Region of root hair)



ที่มาของภาพ http://www.robinsonlibrary.com/science/botany/anatomy/graphics/roottip.gif


ถ้าตัดปลายรากตามขวาง บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation zone)จะได้ลักษณะเหมือนภาพข้างล่างนี้ แต่ละบริเวณจากด้านนอกเข้าไปก็จะมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ซึ่งนักเรียนศึกษาได้ในกิจกรรม 12.2 ของหนังสือเรียน

โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง







โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง




การเจริญของรากทุติยภูมิ(secondary root) หรือรากแขนงจากเพริไซเคิล แสดงโดยภาพข้างล่างนี้ค่ะ



ที่มาของภาพ
http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/branchroot.jpg



วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างของพืช

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น พืชต้นเดียวสามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเวลาเดียวกัน ดังภาพข้างล่างนี้ นักเรียนคิดว่าส่วนต่างๆเหล่านี้จะปรับตัวอย่างไรเอ่ย???



ที่มาของภาพ http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/lect15.htm

เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)

วันนี้มาดูเรื่องเนื้อเยื่อของพืชจากแหล่งเรียนรู้ใหม่กันนะคะ
เมื่อเข้าถึงหน้าแรกแล้วสามารถศึกษาหน้าต่อๆไปได้เรื่อยๆตามลิงค์ที่ให้ค่ะ
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20tissue.htm

ทบทวนเรื่องเซลล์พืช



บทเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์พืชพอสมควร ดังนั้นเราควรทบทวนเรื่องเซลล์พืชกันหน่อยนะคะ
เซลล์พืช (Plant cell) คือโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช เซลล์พืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ผนังเซลล์ (Cell wall) และโปรโตพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งโปรโตพลาสต์ประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ภายใน ไซโตพลาสซึมมีออร์แกเนลล์ในเซลล์ (Cell organelles) หลายชนิด และเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้วมักมีแวคคิวโอล (Vacuole) ใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ขนาดและรูปร่างของเซลล์จะแตกต่างกันไปตามชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น
ผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างใหม่ ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่าง ๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสซึม ชั้นใหม่นี้จะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)
ผนังเซลล์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ผนังเซลล์ขั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
2. ผนังเซลล์ขั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังขั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
3. มิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella) คือ ส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน ประกอบด้วยสารเพคติน

ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์กับเซลล์พืชนะคะ





(ที่มา http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/structure cell.html)



เซลล์พืชทุกเซลล์เป็น Eukaryotic cell ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) และอวัยวะ (Organ) ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เซลล์พืชที่มีคลอโรพลาสต์จะทำให้เซลล์เหล่านั้นสามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)



นักเรียนจำเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ไหมคะ เซลล์ประเภทนี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสค่ะ เราเรียกว่า Prokaryotic cell ซึ่งเซลล์ประเภทนี้เราจะกล่าวถึงอยู่บ้างในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงนะคะ วันนี้ดูรูปไปก่อน


(ที่มา https://mrsmaine.wikispaces.com/skylyn+and+Cheyanne?f=print )







เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)

หนังสือเรียนชีววิทยา(หลักสูตร 2544 ) ของ สสวท.ที่นักเรียนใช้อยู่ปัจจุบันไม่มีเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อเนื้อเยื่อพืช วันนี้ครูพบแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อพืชที่น่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก จึงเอามาฝากนักเรียนให้เข้าไปศึกษาหาความรู้กัน ก็อย่างที่เคยบอกนะคะว่าครูไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่ออิเลกทรอนิคส์ แต่ก็พยายามรวบรวมสื่อต่าง ๆ มาไว้ในบล็อก เพื่อให้นักเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยมีแหล่งที่มาของข้อมูลชัดเจน ลองเข้าไปศึกษากันนะคะ

http://www.sc.chula.ac.th/courseware/bio-u2/ppt/b06.ppt

http://bio.sci.ubu.ac.th/course/biology/Plant-tissue.pdf

http://www.mwit.ac.th/~bio/content5.2/Plant%20Forms%20and%20Functions%201%20(Plant%20tissue).pdf

ศึกษาแล้วลองเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องราวดูนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันแรกของการเรียนการสอนาภาคเรียนที่1/2553

มาทำงานวันนี้เป็นวันแรกหลังจากไปเข้ารับการอบรมหลักสูตร master teacher ที่ ม.แม่โจ้ อาทิตย์กว่าๆ พบปะนักเรียนไป 2 ห้อง บรรยากาศในห้องเรียนก็โอเค นักเรียนดูตั้งใจฟังกันดี ไปอบรมคราวนี้ได้เติมเต็มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนค่อนข้างเยอะ วิทยากรก็ใจดี อนุญาตให้ download เนื้อหามาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ ครูจึงเอามาเผยแพร่ให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษานอกห้องเรียนไปด้วย ตาม URL ข้างล่างนี้นะคะ
อันดับแรกก็เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง...
http://www.biology.mju.ac.th/CourseFile/191.PDF

วันนี้เอาเรื่องเดียวก่อนนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

สวัสดีปีการศึกษาใหม่ 2553

สวัสดีค่ะนักเรียน
วันเปิดภาคเรียน 10 พฤษภาคม 2553 เราคงยังไม่ได้เริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนชีววิทยา ม.5 (รวมทั้งเคมีและฟิสิกส์) เพราะครูวิทย์ ม.5 ทั้ง 3คน ต้องไปอบรม Master Teacher ภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ระหว่างวันที่ 3-12 พฤษภาคม 2553 วันนี้ครูจึงหาเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษากันล่วงหน้า อาจพอเป็นประโยชน์อยู่บ้างนะคะ ตามไปดูที่ URL ต่อไปนี้เลยค่ะ แล้วอย่าลืมสมัครเป็นผู้ติดตาม เพื่อแสดงข้อคิดเห็นหรือถามสิ่งที่นักเรียนสงสัยกันด้วยนะคะ นักเรียนเลือกเข้าไปศึกษาตามลำดับตั้งแต่เรื่องของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ดนะคะ เพราะบทแรกเราจะเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกกันค่ะ

http://www.thaigoodview.com/node/56390

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทรัพยากรป่าไม้


ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า


ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.
ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน
สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า
การอนุรักษ์ป่าไม้
ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/forest/forestn.htm

ทรัพยากรธรรมชาติ

การเพิ่มประชากรมนุษย์ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์มีมากขึ้น มนุษย์มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย และผลจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ได้ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา การใช้ทรัพยากรอย่างผิดวิธี และการใช้อย่างสิ้นเปลือง อาจทำให้ทรัพยากรที่มีคุณค่าลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เราควรมาเรียนรู้กันว่าปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติมีอะไรบ้าง สาเหตุของปัญหาคืออะไร มีแนวทางในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติกันนะคะ

ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองหรือปรากฏอยู่ตามธรรมชาติโดยที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และอำนวยประโยชน์ต่อธรรมชาติด้วยกันเอง เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ รวมถึงมนุษย์ เป็นต้น

ทรัพยากรธรรมชาติสามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ (ชัชพงศ์ ทรงสุนทรวงศ์,2546)
1. ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น (Renewable Resource) แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 บรรยากาศ ในบรรยากาศประกอบไปด้วยอากาศซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต นอกจากนั้นยังมีความชื้น อุณหภูมิ และการเคลื่อนไหว ของมวลอากาศ รวมเรียกว่า ภูมิอากาศ (Climate) ซึ่งมีความสำคัญต่อดิน พืชพรรณ และสภาพอื่น ๆ ของสิ่งมีชีวิตบนโลก 1.2 น้ำที่อยู่ในวัฏจักร น้ำที่อยู่ในวัฏจักรจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป จากสภาพหนึ่งเป็นอีกสภาพหนึ่งเรื่อยไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด เช่น จากฝน หิมะลูกเห็บ ตกลงสู่พื้นดิน บางส่วนระเหยกลับไปในอากาศทันที บางส่วนไหลซึมลึกลงไปในน้ำใต้ดินแล้วทยอยไหลลงสู่ห้วย ลำธาร บางส่วนจะไหลไปตามพื้นผิวดินลงสู่แม่น้ำ ลำคลองออกสู่ทะเล มหาสมุทร และระเหยกลายเป็นไอจับตัวเป็นก้อนเมฆ แล้วกลั่นตัวลงมาเป็นฝน การหมุนเวียนของน้ำแบบนี้ไม่มีที่สิ้นสุดหรือไม่หมดไป
2. ทรัพยากรที่เกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Replaceable and Maintainable Resource) แบ่งได้เป็น 7 ชนิด คือ
2.1 น้ำที่อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง หมายถึง น้ำที่อยู่ในที่เฉพาะแห่งที่เราเห็น และใช้กันอยู่ทุกวัน เช่นน้ำในภาชนะ เมื่อใช้แล้วก็หมดไป แต่เราสามารถที่จะหามาทดแทนใหม่ได้
2.2 ดิน หมายถึง เนื้อดินที่เป็นที่อยู่อาศัยของพืช เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช ปัจจัย 4 ของมนุษย์
2.3 ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดินมากกว่าเนื้อดินซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ได้มี 2 ประการด้วยกัน ประการแรก เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยตรงจากการดัดแปลงของมนุษย์ เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ ประการที่ 2 เป็นการใช้ประโยชน์ ทางอ้อม โดยใช้ประโยชน์ในรูปของการท่องเที่ยวทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้มีการดัดแปลงแต่อย่างใด จึงจัดที่ดินอยู่ในทรัพยากรประเภทที่สามารถรักษาให้คงอยู่ได้
2.4 ป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ นับว่ามีความสำคัญมากในแง่ของการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสัตว์ป่า ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เนื่องจากป่าไม้เกิดขึ้นทดแทนตามธรรมชาติหรือการปลูกให้เป็นป่าขึ้นมาใหม่ได้ ป่าไม้จึงถูกจัดอยู่ในทรัพยากร ประเภทที่ทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้ ถ้าหากได้มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชา
2.5 ทุ่งหญ้า หมายถึง พื้นที่ที่ส่วนใหญ่มีพืชตระกูลหญ้า และพืชพรรณอื่น ๆ ขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ มักเป็นที่ที่มีฝนตกน้อย เป็นที่หากินของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ทุ่งหญ้าจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้เช่นเดียวกันกับป่าไม้
2.6 สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ป่าทั้งที่อยู่บนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถจะเกิดลูกหลานสืบทอดกันได้ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ และรักษาให้คงอยู่ได้ ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์
2.7 กำลังงานมนุษย์ มนุษย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถใช้กำลังงานทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามกำลังงานมนุษย์เป็นสิ่งที่สูญหายไปได้ แต่ก็สามารถรักษาให้คงอยู่ได้ หรือทำให้เกิดใหม่ ได้เช่นกัน
3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable Resource) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
3.1 แร่ธาตุ มีทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง ถ่านหิน ปิโตรเลียมพวกนี้เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถงอกเงยได้ในเวลาอันสั้นใช้ประโยชน์แล้วก็หมดสิ้นไป แต่บางชนิดอาจนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้
3.2 ที่ดินในสภาพธรรมชาติ ได้แก่ที่ดินที่เป็นป่าเขาห่างไกลชุมชน สมควรเก็บไว้เป็นที่ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ สถานที่เหล่านี้ถูกทำลาย แล้ว จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาแทนใหม่ได้ เพราะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามธรรมชาติ เช่น น้ำตก หน้าผา

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ทบทวนเรื่องระบบนิเวศก่อนสอบ

ใกล้สอบแล้ว มาดูสรุปเรื่องระบบนิเวศกันหน่อย คราวนี้เอามาจากเว็บไซต์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ลองศึกษาดูนะคะ http://www.mwit.ac.th/~deardean/link/All%20Course/ny/pdf/(2)%20Ecology.pdf

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ทบทวนชีววิทยา ม.ปลายกับKKU

วันนี้ครูมีเว็บดีๆ มาฝากอีกแล้วค่ะ
คงเป็นประโยชน์กับผู้เรียนชีววิทยา ม.ปลายที่เข้ามาในบล็อกนี้ทุกๆคนนะคะhttp://202.12.97.4/media/main/index.php?option=com_content&task=view&id=412&Itemid=58

มารู้จักประโยชน์ของแพลงก์ตอนสัตว์น้ำจืดกันสักนิด

ลองเปิดคลิปในเว็บนี้ดูกันนะคะhttp://202.12.97.4/media/main/index.php?option=content&task=view&id=128

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

มารู้จักไลเคนกันหน่อยไหม

ไลเคนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบ mutualism โครงสร้างของร่างกายประกอบด้วยราบางชนิดกับสาหร่ายหรือไซยาโนแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาต่อจากเว็บต่อไปนี้นะคะ http://www.ru.ac.th/lichen/aboutlichens/aboutlichen.html