วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชนิดของลำต้น

สวัสดีค่ะ
วันนี้เรามาเรียนรู้หน้าที่ และชนิดของลำต้น (Stem) กันนะคะ

ลำต้นมีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
1. เป็นแกนพยุงโครงสร้างของพืช (Supporting)
2. เป็นทางในการลำเลียง (Transporting)

นอกจากนี้ ลำต้นบางชนิดอาจทำหน้าที่พิเศษต่าง ๆ เช่น สะสมอาหาร แพร่พันธุ์ เป็นหนามป้องกันอันตราย ยึดเกาะ ฯลฯ

ชนิดของลำต้น แบ่งตามแหล่งที่อยู่ได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลำต้นเหนือดิน ( Terrestrial stem) และลำต้นใต้ดิน (Underground stem)
ลำต้นปกติทั่วไปจะเป็นลำต้นเหนือดินค่ะ

ลำต้นเหนือดินแบ่งตามลักษณะและขนาด ได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ต้นไม้ยืนต้น (Tree) ต้นไม้พุ่ม (Shrub) และต้นไม้ล้มลุก(Herb)
คลิกดูรูปตัวอย่างไม้ยืนต้นนะคะ http://depts.washington.edu/czone/images/trees_mem_planes.jpg
คลิกดูรูปตัวอย่างไม้พุ่มค่ะ
http://www.miraclefruitusa.com/images/shrub1.jpg
และดูรูปตัวอย่างไม้ล้มลุก
http://gotoknow.org/file/pantree/11.jpg

ลำต้นเหนือดินบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ไปจากที่ตั้งตรงอยู่เหนือดินไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified stem) ทำให้จำแนกได้เป็น 4 ชนิดได้แก่

1. ลำต้นเลื้อย (Creeping stem) อาจเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำ ตามข้อที่ขนานกับพื้นผิวมักมีรากงอกออกมา คลิกดูรูปตัวอย่างนะคะ
นี่ผักบุ้งค่ะ
http://www.scriptdd.com/_file/images/home19-11-2005-4.jpg และนี่บัวบก (ชื่อก็บอกว่าอยู่บนดิน) http://www.skn.ac.th/skl/skn42/veget71/ve8.jpg

2. ลำต้นไต่ (Climbing stem) เป็นลำต้นพิเศษที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อชูต้นขึ้นสู่ที่สูง มีหลายชนิด ได้แก่
* Twining stem เป็นลำต้นที่ไต่พันหลักเป็นเกลียวขึ้นไปเรียก เช่น ถั่ว
http://www.dkimages.com/discover/previews/966/30023796.JPG
* Stem tendril เป็นลำต้นที่เปลี่ยนเป็นมือเกาะที่มักมีลักษณะคล้ายสปริง เช่น พวงชมพูhttp://pirun.ku.ac.th/~fscippp/lab114/chap3/images/stem%20tendril2_low.JPG
* Root climber เป็นลำต้นที่เลื้อยตามหลักหรือต้นไม้อื่น โดยมีรากงอกจากข้อออกมาเกาะยึด เช่น ดีปลีhttp://kruwasana.info/root_files/image035.jpg
พลูด่าง
http://www.meartprobuilt.com/decorguide/8526.jpg
* Thorny stem หรือ Stem spine บางทีเรียก Scramber ใช้หนามหรือขอเกี่ยว เช่น เฟื่องฟ้า http://www.dkimages.com/discover/previews/914/65029244.JPG

3. แคลโดฟิลล์ (Cladophyll) เป็นลำต้นที่มีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เช่น ต้นพญาไร้ใบ
http://pirun.ku.ac.th/~fscippp/lab114/chap3/images/cladophyll_low.JPG ต้นกระบองเพชร

4. บัลบิล (Bulbil) บางทีเรียก Crown หรือ Slip เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบหรือลำต้น หรือยอดของลำต้น เมื่อร่วงลงดินสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ เช่น หน่อสับปะรด
http://www.storageimage.com/imageuser/07/05/14/thaisellingp5283643n1.jpg ป่านศรนารายณ์
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/pictures/l17-189a.jpg

ลำต้นใต้ดิน มักมีรูปร่างแตกต่างจากลำต้นเหนือดิน อาจเรียกว่าเป็น Modified stem ด้วยก็ได้ ลำต้นใต้ดินจำแนกตามลักษณะรูปร่างได้ 4 ชนิด

มาดูชนิดของลำต้นใต้ดินจากเว็บข้างล่างนี้นะคะ
http://www.pharm.chula.ac.th/vsuntree/pcog1/stem/stem7.htm

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงสร้างภายในของราก

โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เมื่อตัดตามขวางตรงบริเวณที่เจริญเติบโตเต็มที่จะพบบริเวณต่างๆ ของเนื้อเยื่อเรียงจากด้านนอกเข้าด้านในเป็นชั้นๆ ดังนี้
- เอพิเดอร์มิส ( epidermis ) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ บริเวณปลายรากส่วนที่เรียกว่า บริเวณขนราก ( root hair ) จะพบเซลล์เอพิเดอร์มิสที่ยื่นออกมา เรียกส่วนยื่นนี้ว่า ขนราก ( root hair ) ช่วยในการดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆให้แก่พืช
- คอร์เทกซ์ ( cortex ) เป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์พวกพาเรงคิมา ( Parenchyma) เป็นส่วนใหญ่ เรียงตัวกันหลายแถว เซลล์ไม่มีคลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็ก เรียงตัวชั้นเดียว เรียกว่า เอนโดเดอร์มีส ( endodermis ) ในขณะที่รากยังอ่อนอยู่ผนังเซลล์จะบาง แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น จะมีสารพวกซูเบอริน ( suburin ) มาเกาะตามขวางของเซลล์ สารซูเบอรินเป็นสารที่น้ำผ่านไม่ได้ ดังนั้นการไหลของน้ำผ่านเอนโดเดอร์มิสเข้าสู่ด้านในจึงต้องผ่านเซลล์ของเอนโดเดอร์มิสที่มีอายุน้อยหรือเซลล์ที่ไม่มีซูเบอริน ที่เรียกว่า พาสเสด เซลล์ ( passage cell ) ซึ่งอยู่รัศมีเดียวกันกับไซเลมโดยตรง
- สตีล ( stele ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้นเอนโดเดอร์มิส เข้าไปในรากพบว่าชั้นของสตีลแคบกว่าชั้นคอร์เทกซ์ ชั้นสตีลประกอบด้วยชั้นเนื้อเยื่อลักษณะต่างๆ ได้แก่ เพริไซเคิล ( pericycle ) เป็นชั้นของเซลล์ที่ต่อจากเอนโดเดอร์มิสเข้ามาเซลล์เรียงกันแถวเดียวหรือ 2 แถวเท่านั้น เพริไซเคิล เป็นจุดกำเนิดของรากแขนง ในลำต้นไม่มีเนื้อเยื่อชั้นนี้ ถัดจากเพริไซเคิลเป็นกลุ่มท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล ( vascular bundle ) ประกอบด้วยไซเลม ( xylem ) และโฟลเอม ( phloem ) ซึ่งมีการจัดเรียงตัวแตกต่างกันในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และ พืชใบเลี้ยงคู่
ชั้นสุดของพืชในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า พิธ (Pith)

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)

สวัสดีค่ะ
วันนี้ครูมี animation เกี่ยวกับ Photosynthesis มาฝาก
ตามดูจากเว็บไซต์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ แต่บอกก่อนว่าต้องอาศัยทักษะทางภาษาอังกฤษด้วยนะคะ
http://www.youtube.com/watch?v=hj_WKgnL6MI
http://www.youtube.com/watch?v=eY1ReqiYwYs&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=mHU27qYJNU0&feature=related

ส่วนเว็บต่อไปนี้.. น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการดัดแปลงเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบของเพลง เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถด้านดนตรีลองทำดู...เอาไปดัดแปลงใช้กับเนื้อหาเรื่องอื่นๆได้ด้วย
http://http://www.youtube.com/watch?v=D2oIBuJNDdc&feature=related
www.youtube.com/watch?v=Q_1mxZdF2TY&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=fsBg6w0N23Q&feature=related

โครงสร้างของปลายราก


โครงสร้างของปลายราก
ปลายราก ( root tip ) ประกอบด้วยบริเวณต่างๆ 4 บริเวณ เรียงลำดับจากปลายสุดขึ้นมา ดังนี้
1. บริเวณหมวกราก ( region of root cap) ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อเจริญ เซลล์ของหมวกรากจะฉีกขาดอยู่เสมอเมื่อรากยาวขึ้นและเจริญลงไปในดิน แต่เนื้อเยื่อเจริญก็จะสร้างหมวกรากใหม่อยู่เรื่อยๆ ผนังเซลล์ด้านนอกจะมีน้ำเมือกอยู่เสมอเพื่อช่วยให้ปลายรากเจริญเติบโตลงไปในดินได้สะดวก รากของพืชบกทั่วไปจะมีหมวกรากแต่รากของพืชน้ำมักไม่ปรากฎ ยกเว้นรากของแหน
2. บริเวณเซลล์แบ่งตัว ( region of cell division ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดหมวกรากขึ้นไป ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ (meristem) ที่มีเซลล์ขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง ภายในมีโปรโตพลาสซึมมาก มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิส (mitosis) ตลอดเวลา ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น บางส่วนจะเจริญเป็นหมวกราก บางส่วนจะเจริญเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาวขึ้นอยู่ในบริเวณที่สูงถัดจากบริเวณนี้ขึ้นไป
3. บริเวณเซลล์ยืดตัว ( region of cell elongation ) เป็นกลุ่มเซลล์ที่เจริญมาจากการแบ่งเซลล์ เซลล์ในบริเวณนี้มีแวคิวโอล (vacuole) ใหญ่ ขนาดเซลล์ก็ขยายใหญ่กว่าบริเวณเซลล์แบ่งตัว โดยเฉพาะในทางความยาวจะยาวอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้รากยาวขึ้น
4. บริเวณเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะและเจริญเติบโตเต็มที่ ( region of cell diferentiation and maturation ) เซลล์บริเวณนี้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปต่างๆกัน ผนังเซลล์หนาขึ้น มีการแบ่งกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้ชัดเจน โดยผิวรอบนอกของรากจะเป็น epidermis ถัดเข้าไปเป็น cortex และ stele ในบริเวณนี้จะพบว่ารากแตกต่างจากลำต้นอย่างเด่นชัด epidermis ของรากในบริเวณนี้มีขนราก (root hair) แตกออกมาโดยรอบเพื่อทำหน้าที่ดูดน้ำและเกลือแร่จากดิน ขนรากมีอายุสั้นมาก เจริญเติบโตโดยผนังของเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermal cell) ยื่นยาวออกไปโดยไม่มีผนังกั้น เรียกเซลล์เอพิเดอร์มิสที่มีขนรากว่าเซลล์ขนราก (root hair cell)

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

สวัสดีค่ะ
วันนี้ครูมีเว็บไซต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกมาฝากนักเรียน
ตามไปดูกันได้นะคะ

โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
เทคนิคช่วยจำเรื่องเนื้อเยื่อพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก - ppt
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียง

มีภาพเคลื่อนไหว (animation) มาฝากด้วยนะคะ
เป็นการปิดเปิดของปากใบ ลองคลิกเข้าไปแล้วติดตามดูรายละเอียดใน clip กัน
http://www.tutorvista.com/content/biology/biology-iii/plant-histology/opening-closing-stoma.php