วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงสร้างภายในของราก

โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เมื่อตัดตามขวางตรงบริเวณที่เจริญเติบโตเต็มที่จะพบบริเวณต่างๆ ของเนื้อเยื่อเรียงจากด้านนอกเข้าด้านในเป็นชั้นๆ ดังนี้
- เอพิเดอร์มิส ( epidermis ) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ บริเวณปลายรากส่วนที่เรียกว่า บริเวณขนราก ( root hair ) จะพบเซลล์เอพิเดอร์มิสที่ยื่นออกมา เรียกส่วนยื่นนี้ว่า ขนราก ( root hair ) ช่วยในการดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆให้แก่พืช
- คอร์เทกซ์ ( cortex ) เป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์พวกพาเรงคิมา ( Parenchyma) เป็นส่วนใหญ่ เรียงตัวกันหลายแถว เซลล์ไม่มีคลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็ก เรียงตัวชั้นเดียว เรียกว่า เอนโดเดอร์มีส ( endodermis ) ในขณะที่รากยังอ่อนอยู่ผนังเซลล์จะบาง แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น จะมีสารพวกซูเบอริน ( suburin ) มาเกาะตามขวางของเซลล์ สารซูเบอรินเป็นสารที่น้ำผ่านไม่ได้ ดังนั้นการไหลของน้ำผ่านเอนโดเดอร์มิสเข้าสู่ด้านในจึงต้องผ่านเซลล์ของเอนโดเดอร์มิสที่มีอายุน้อยหรือเซลล์ที่ไม่มีซูเบอริน ที่เรียกว่า พาสเสด เซลล์ ( passage cell ) ซึ่งอยู่รัศมีเดียวกันกับไซเลมโดยตรง
- สตีล ( stele ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้นเอนโดเดอร์มิส เข้าไปในรากพบว่าชั้นของสตีลแคบกว่าชั้นคอร์เทกซ์ ชั้นสตีลประกอบด้วยชั้นเนื้อเยื่อลักษณะต่างๆ ได้แก่ เพริไซเคิล ( pericycle ) เป็นชั้นของเซลล์ที่ต่อจากเอนโดเดอร์มิสเข้ามาเซลล์เรียงกันแถวเดียวหรือ 2 แถวเท่านั้น เพริไซเคิล เป็นจุดกำเนิดของรากแขนง ในลำต้นไม่มีเนื้อเยื่อชั้นนี้ ถัดจากเพริไซเคิลเป็นกลุ่มท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล ( vascular bundle ) ประกอบด้วยไซเลม ( xylem ) และโฟลเอม ( phloem ) ซึ่งมีการจัดเรียงตัวแตกต่างกันในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และ พืชใบเลี้ยงคู่
ชั้นสุดของพืชในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า พิธ (Pith)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น