วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มีคนขอเซลล์พืชภาษาไทย..จัดให้ค่ะ

ความจริงนักเรียนระดับชั้น ม.5 น่าจะรู้จักคำศัพท์โครงสร้างของเซลล์เป็นภาษอังกฤษแล้วนะคะ แต่เมื่อเป็นความประสงค์ที่จัดให้ได้ก็จัดให้ค่ะ



ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/data/sunakotum/picture/1190345211.jpg

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างของราก



จากกิจกรรม 12.1 ในหนังสือเรียนชีววิทยาเล่ม 4 ของสสวท. โครงสร้างบริเวณปลายรากที่นักเรียนควรจะมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ควรเป็นตามรูปข้างล่างนี้นะคะ

พอจะสังเกตได้ไหมว่าเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ของปลายรากพืชมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
และความแตกต่างกันนี้จะทำให้แบ่งบริเวณปลายรากพืชออกได้เป็นกี่บริเวณ แต่ละบริเวณมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
ไปลองหาคำตอบกันดูนะคะ


ที่มาของภาพ http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Root/Triticum_(wheat)_root_tip/Root_tip_MC.jpg


เฉลยค่ะ


ในรูปข้างล่างนี้แบ่งปลายรากได้เป็น 4 บริเวณ ดังนี้

1. บริเวณหมวกราก (Root cap) เป็นบริเวณปลายสุดของราก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่

2.บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว (Region of cell division) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือหมวกราก ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) ที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญเริ่มแรก (Promeristem) ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลา

3.บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือบริเวณเซลล์แบ่งตัว ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก(Primary meristem) ซึ่งแบ่งตัวและขยายขนาดตามความยาวของราก

4. บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Region of cell maturation) เป็นบริเวณที่อยู่เหนือบริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว และเกิดเนื้อเยื่อถาวรขึ้น ส่วนล่างของบริเวณนี้มีขนราก ( Root hair) ยื่นออกมาจากเซลล์ชั้นนอกสุดเรียกบริเวณขนราก (Region of root hair)



ที่มาของภาพ http://www.robinsonlibrary.com/science/botany/anatomy/graphics/roottip.gif


ถ้าตัดปลายรากตามขวาง บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation zone)จะได้ลักษณะเหมือนภาพข้างล่างนี้ แต่ละบริเวณจากด้านนอกเข้าไปก็จะมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ซึ่งนักเรียนศึกษาได้ในกิจกรรม 12.2 ของหนังสือเรียน

โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง







โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง




การเจริญของรากทุติยภูมิ(secondary root) หรือรากแขนงจากเพริไซเคิล แสดงโดยภาพข้างล่างนี้ค่ะ



ที่มาของภาพ
http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/branchroot.jpg



วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างของพืช

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น พืชต้นเดียวสามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเวลาเดียวกัน ดังภาพข้างล่างนี้ นักเรียนคิดว่าส่วนต่างๆเหล่านี้จะปรับตัวอย่างไรเอ่ย???



ที่มาของภาพ http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/lect15.htm

เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)

วันนี้มาดูเรื่องเนื้อเยื่อของพืชจากแหล่งเรียนรู้ใหม่กันนะคะ
เมื่อเข้าถึงหน้าแรกแล้วสามารถศึกษาหน้าต่อๆไปได้เรื่อยๆตามลิงค์ที่ให้ค่ะ
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20tissue.htm

ทบทวนเรื่องเซลล์พืช



บทเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์พืชพอสมควร ดังนั้นเราควรทบทวนเรื่องเซลล์พืชกันหน่อยนะคะ
เซลล์พืช (Plant cell) คือโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช เซลล์พืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ผนังเซลล์ (Cell wall) และโปรโตพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งโปรโตพลาสต์ประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ภายใน ไซโตพลาสซึมมีออร์แกเนลล์ในเซลล์ (Cell organelles) หลายชนิด และเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้วมักมีแวคคิวโอล (Vacuole) ใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ขนาดและรูปร่างของเซลล์จะแตกต่างกันไปตามชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น
ผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างใหม่ ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่าง ๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสซึม ชั้นใหม่นี้จะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)
ผนังเซลล์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ผนังเซลล์ขั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
2. ผนังเซลล์ขั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังขั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
3. มิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella) คือ ส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน ประกอบด้วยสารเพคติน

ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์กับเซลล์พืชนะคะ





(ที่มา http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/structure cell.html)



เซลล์พืชทุกเซลล์เป็น Eukaryotic cell ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) และอวัยวะ (Organ) ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เซลล์พืชที่มีคลอโรพลาสต์จะทำให้เซลล์เหล่านั้นสามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)



นักเรียนจำเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ไหมคะ เซลล์ประเภทนี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสค่ะ เราเรียกว่า Prokaryotic cell ซึ่งเซลล์ประเภทนี้เราจะกล่าวถึงอยู่บ้างในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงนะคะ วันนี้ดูรูปไปก่อน


(ที่มา https://mrsmaine.wikispaces.com/skylyn+and+Cheyanne?f=print )







เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)

หนังสือเรียนชีววิทยา(หลักสูตร 2544 ) ของ สสวท.ที่นักเรียนใช้อยู่ปัจจุบันไม่มีเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อเนื้อเยื่อพืช วันนี้ครูพบแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อพืชที่น่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก จึงเอามาฝากนักเรียนให้เข้าไปศึกษาหาความรู้กัน ก็อย่างที่เคยบอกนะคะว่าครูไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่ออิเลกทรอนิคส์ แต่ก็พยายามรวบรวมสื่อต่าง ๆ มาไว้ในบล็อก เพื่อให้นักเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยมีแหล่งที่มาของข้อมูลชัดเจน ลองเข้าไปศึกษากันนะคะ

http://www.sc.chula.ac.th/courseware/bio-u2/ppt/b06.ppt

http://bio.sci.ubu.ac.th/course/biology/Plant-tissue.pdf

http://www.mwit.ac.th/~bio/content5.2/Plant%20Forms%20and%20Functions%201%20(Plant%20tissue).pdf

ศึกษาแล้วลองเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องราวดูนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันแรกของการเรียนการสอนาภาคเรียนที่1/2553

มาทำงานวันนี้เป็นวันแรกหลังจากไปเข้ารับการอบรมหลักสูตร master teacher ที่ ม.แม่โจ้ อาทิตย์กว่าๆ พบปะนักเรียนไป 2 ห้อง บรรยากาศในห้องเรียนก็โอเค นักเรียนดูตั้งใจฟังกันดี ไปอบรมคราวนี้ได้เติมเต็มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนค่อนข้างเยอะ วิทยากรก็ใจดี อนุญาตให้ download เนื้อหามาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ ครูจึงเอามาเผยแพร่ให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษานอกห้องเรียนไปด้วย ตาม URL ข้างล่างนี้นะคะ
อันดับแรกก็เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง...
http://www.biology.mju.ac.th/CourseFile/191.PDF

วันนี้เอาเรื่องเดียวก่อนนะคะ