วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552
ไบโอมคืออะไร
นักเรียนจะได้มีพื้นฐานเรื่องไบโอมที่เราจะเรียนในภาคเรียนต่อไป
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
การงอกของเมล็ด (Germination)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ต้นพืชที่เจริญหลังการงอกที่อาศัยอาหารที่สะสมในเมล็ดเรียกว่า ต้นกล้า
นักเรียนสามารถศึกษาชนิดของการงอกได้จากเว็บข้างล่างนี้นะคะ
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359301/pprop/3.seed/epigeal.html
ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
เมล็ดที่จะงอกได้ จะต้องมีปัจจัยที่เหมาะสม ทั้งเมล็ด และสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้
1. การมีชีวิตของเมล็ด นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเมล็ด การที่เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้น้อย อาจเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมล็ด ไม่เหมาะสมขณะที่ยังอยู่บนต้นแม่ หรือเนื่องจากได้รับอันตราย ขณะทำการเก็บเกี่ยว หรือขบวนการในการผลิตเมล็ดไม่ดีพอ
2. สภาพแวดล้อมในขณะเพาะ เมล็ด ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนี้
2.1 น้ำ เป็นตัวทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนตัว และเป็นตัวทำละลายอาหารสะสมภายในเมล็ด ที่อยู่ในสภาวะที่เป็นของแข็ง ให้เปลี่ยนเป็นของเหลว และเคลื่อนที่ได้ ทำให้จุดเจริญของเมล็ดนำไปใช้ได้
2.2 แสง เมล็ดเมื่อเริ่มงอก จะมีทั้งชนิดที่ต้องการแสง ชอบแสง และไม่ต้องการแสง ส่วนใหญ่เมล็ดเมื่อเริ่มงอกจะไม่ต้องการแสง ดังนั้น การเพาะเมล็ดโดยทั่วไป จึงมักกลบดินปิดเมล็ดเสมอ แต่แสงจะมีความจำเป็น หลังจากที่เมล็ดงอกแล้ว ขณะที่เป็นต้นกล้า แสงที่พอเหมาะจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี
2.3 อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสม ช่วยให้เมล็ดดูดน้ำได้เร็วขึ้น กระบวนการในการงอกของเมล็ดเกิดขึ้นเร็ว และช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน พืชเมืองร้อนย่อมต้องการอุณหภูมิสูงกว่าพืชเมืองหนาวเสมอ
2.4 ออกซิเจน เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะเริ่มหายใจมากขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้อ๊อกซิเจน ไปเผาผลาญอาหารภายในเมล้ด ให้เป็นพลังงานใช้ในการงอก ยิ่งเมล็ดที่มีมันมาก ยิ่งต้องใช้อีอกซิเจนมากขึ้น ดังนั้น การกลบดินทับเมล็ดหนาเกินไป หรือใช้ดินเพาะเมล็ด ที่ถ่ายเทอากาศไม่ดี จะมีผลยับยั้งการงอก หรือทำให้เมล็ดงอกช้าลง หรือไม่งอกเลย
การพักตัวของเมล็ด
การพักตัวของเมล็ด หมายถึง ช่วงที่เมล็ดพืชยังไม่พร้อมที่จะงอกขึ้นเป็นต้นพืชใหม่ได้ ดังนั้นการเพาะเมล็ดบางชนิด อาจต้องทำลายการพักตัวของพืชก่อน เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด
1. ลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก วิธีการนี้ ทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น กว่าวิธีการเพาะเมล็ดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งวิธีการลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เป็นอันตรายต่อเมล็ดภายใน เพราะอาจทำให้การงอกของเมล็ดสูญเสียไปได้ พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ได้แก่ มะม่วง
2. ฝนเมล็ด เป็นการทำให้เปลือกแข็งหุ้มเมล็ด เกิดเป็นรอยด้าน โดยการฝนเมล็ดลงบนกระดาษทราย หรือหินฝน ไม่ควรฝนลึกเกินไป และอย่าฝนตรงจุดที่เป็นที่อยู่ของเอ็มบริโอ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
3. การกะเทาะเอาเมล็ดออก นิยมทำกับพืช ที่มีเมล็ดแข็ง เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกแล้ว จึงค่อยนำเมล็ดอ่อนภายใน ไปทำการเพาะ วิธีนี้จะช่วยให้ เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าวิธีการเพาะแบบไม่กะเทาะเปลือกหุ้ม เมล็ดพืชที่จะต้องทำการกะเทาะเมล็ดก่อนเพาะ ได้แก่ บ๊วย พุทรา สมอจีน
4. การตัดปลายเมล็ด เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เมล็ดพืช งอกได้เร็วกว่าปกติ โดยตัดเปลือกหุ้มเมล็ดทางด้านตรงข้ามกับด้านหัวของเอ็มบริโอและอย่าตัดให้เข้าเนื้อของเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่มีเมล็ดแข็ง เช่น เหรียง หางนกยูงฝรั่ง
5. การแช่น้ำ การนำเมล็ดไปแช่น้ำ จะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะน้ำ จะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น น้ำที่ใช้แช่อาจจะเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่ จะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานานถึง 1 – 2 วัน บางชนิดใช้เวลาประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง ทั้งนี้สังเกตจาก ขนาดของเมล็ดขยายใหญ่และเต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่ม ก็นำไปเพาะได้ พืชที่นิยมใช้วิธีนี้ ได้แก่ น้อยหน่า มะขาม มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าว ผักชี
ที่มา: “ การขยายพันธุ์พืช “ กรมส่งเสริมการเกษตร
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
โครงสร้างของเมล็ด
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552
การเกิดเมล็ด
ภายในเมล็ดประกอบด้วยเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม โดยมีเปลือกหุ้มเมล็ดล้อมรอบ เมื่อพืชดอกมีการปฏิสนธิซ้อน จะทำให้ได้ทั้งไซโกตและเอนโดสเปิร์มซึ่งไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์ต่อ ๆ ไป เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์กลายเป็น เอ็มบริโอ ส่วนเอนโดสเปิร์มจะกลายเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหารให้เอ็มบริโอใช้ในการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ แต่อัตราการแบ่งเซลล์ในแต่ละบริเวณจะไม่เท่ากัน จากนั้นเซลล์จะขยายขนาดเอ็มบริโอจึงเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การเจริญเติบโตทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในออวูล ออวูลจึงมีการเจริญเติบโตกลายเป็นเมล็ด รังไข่เจริญไปเป็นผล
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
การถ่ายละอองเรณูและการปฎิสนธิของพืชดอก
การถ่ายละอองเรณู หมายถึง การที่ละอองเรณูไปตกติดที่ยอดเกสรตัวเมียโดยอาศัย ลม น้ำ แมลง หรือดีดกระเด็นไปเอง แมลงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู การถ่ายละอองเรณูถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสืบพันธุ์ของพืช
การถ่ายละอองเรณูเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การถ่ายละอองเรณูในต้นเดียวกัน (Self pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูโดยละอองเรณูจากอับเรณูไปตกบนยอดเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน
2. การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น (Cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณู โดยละอองเรณูจากอับเรณูของดอกต้นหนึ่งไปตกบนยอดเกสรเพศเมียของดอกอีกต้นหนึ่ง
การปฏิสนธิ (Fertilization)
การปฏิสนธิของพืชดอกเป็นกระบวนการที่สเปิร์มนิวเคลียสอันหนึ่งเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ และสเปิร์มนิวเคลียสอีกอันหนึ่งเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสเรียกการปฏิสนธิลักษณะนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization)
เมื่อมีละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูจะสร้างหลอดละอองเรณู (pollen tube)งอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมีย หลอดที่งอกเร็วที่สุดจะผ่านรูไมโครไพล์ของออวุลเข้าไป แล้วทิวบ์นิวเคลียสจะสลายไป ในระยะนี้เจเนอเรทีฟนิวเคลียส จะแบ่งนิวเคลียสทำให้ได้เสปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) 2 อัน เมื่อสเปิร์มนิวเคลียสผ่านรูไมโครไพล์ของออวุลแล้ว สเปิร์มนิวเคลียสอันหึ่ง จะเข้าไปผสมกับ นิวเคลียสของ เซลล์ไข่ ได้เป็นไซโกต แล้วไซโกตจะเจริญต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) ส่วนสเปิร์มนิวเคลียส อีกอันจะเข้าผสม กับเซลล์โพลาร์นิวเคลียส ได้เซลล์ ที่เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สะสมอาหารเรียกว่า เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ส่วนนิวเคลียสที่เหลือคือ แอนติโพแดล และซินเนอร์จิดจะสลายไป
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative nucleus) และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบหรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้
ละอองเรณูของพืชแต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกัน ลองเปิดดูตัวอย่างจากเว็บลิงก์ข้างล่างนี้นะคะ
http://www.immediart.com/catalog/images/big_images/NS_PN_B786630-Pollen_grain,_ESEM-SPL.jpg
http://www.danforthcenter.org/Cells/images/pollen.jpg
http://www.flmnh.ufl.edu/pollen/images/Ipomea.jpg
http://www.iconocast.com/News08_Files/A3EX1/News3_clip_image001.jpg
นักเรียนสามารถหาดูเพิ่มเติมเองจากเว็บอื่นๆ ได้อีกนะคะ
กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ (ovary)ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์ 3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์ (micropyle) เรียกว่า เซลล์แอนติโพแดล (antipodal cell) ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei cell) ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell) และ2 ข้างเรียก เซลล์ซินเนอร์จิด(synergid cell) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552
พฤกษศาสตร์สำหรับเยาวชน
http://www.dnp.go.th/botany/BFC/flwer.html