นิรภัยนิรโศก นิรโรควรผล
ทุมนัสบ่มิดล ทุรกรรมบ่มิกราย
วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและต่างชนิดกันกัน โดยรูปแบบของความสัมพันธ์มีได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. Protocooperation เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน เสมอไป ถึงแม้จะแยกกันอยู่ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ เช่นแมลงกับดอกไม้ , นกเอี้ยงกับควาย , ปูเสฉวนกับซีแอนนีโมนี, มดดำกับเพลี้ยแป้ง
2. Mutualism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ ซึ่งกันและกันและจำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน ตลอดไป ถ้าแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไลเคน, แบคทีเรียไรโซเบียมในปมรากพืชตระกูลถั่ว, โปรโตซัวในลำไส้ปลวก
3. Commensalism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วน อีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้กับต้นไม้ ปลาฉลามกับเหาฉลาม
4. Predation เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า (Predator) ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ว่า เหยื่อ (Prey) เช่น การล่าเหยื่อของสุนัขจิ้งจอก, แมลงกับกบ ,กาบหอยแครงดักจับแมลง,การล่าควายป่าของสิงโต
5. Parasitism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน ์เรียกว่า ปรสิต(Parasite) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกอาศัยเรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (Host) เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง , ต้นฝอยทองกับต้นไม้อื่น, เหาดูดเลือดจากหัวคน , พยาธิต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์, ไส้เดือนฝอยในรากไม้
6. Saprophytism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลาย บนซากสิ่งมีชีวิตให้เน่าเปื่อยผุพัง กลายเป็นแร่ธาตุ ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ย่อยสลายเอง ส่วนที่เหลือจะสะสมในสิ่งแวดล้อม เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์
7. Competition เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งสองฝ่ายมีการแข่งขันกัน เนื่องจากต้องการปัจจัยเดียวกัน แต่ปัจจัยนั้นมีจำกัดต้องแข่งขันกัน เพื่อให้ได้ปัจจัยนั้น อาจเกิดในกลุ่มประชากร (Population) หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) เช่น กวางตัวผู้ต่อสู้เพื่อแย่งกวางตัวเมีย
มาดูตัวอย่างความสัมพันธ์บางชนิดจากภาพและวิดีทัศน์ต่อไปนี้นะคะ
Predation
สิงโตกับควายป่า
Protocooperation เช่น ควายกับนกเอี้ยง
Mutualism เช่น แบคทีเรียกับรากพืชตระกูลถั่ว
Commensalism เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่
Parasitism เช่น กาฝากกับมะม่วง
1. Protocooperation เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน เสมอไป ถึงแม้จะแยกกันอยู่ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ เช่นแมลงกับดอกไม้ , นกเอี้ยงกับควาย , ปูเสฉวนกับซีแอนนีโมนี, มดดำกับเพลี้ยแป้ง
2. Mutualism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ ซึ่งกันและกันและจำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน ตลอดไป ถ้าแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไลเคน, แบคทีเรียไรโซเบียมในปมรากพืชตระกูลถั่ว, โปรโตซัวในลำไส้ปลวก
3. Commensalism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วน อีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้กับต้นไม้ ปลาฉลามกับเหาฉลาม
4. Predation เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า (Predator) ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ว่า เหยื่อ (Prey) เช่น การล่าเหยื่อของสุนัขจิ้งจอก, แมลงกับกบ ,กาบหอยแครงดักจับแมลง,การล่าควายป่าของสิงโต
5. Parasitism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน ์เรียกว่า ปรสิต(Parasite) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกอาศัยเรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (Host) เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง , ต้นฝอยทองกับต้นไม้อื่น, เหาดูดเลือดจากหัวคน , พยาธิต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์, ไส้เดือนฝอยในรากไม้
6. Saprophytism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลาย บนซากสิ่งมีชีวิตให้เน่าเปื่อยผุพัง กลายเป็นแร่ธาตุ ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ย่อยสลายเอง ส่วนที่เหลือจะสะสมในสิ่งแวดล้อม เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์
7. Competition เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งสองฝ่ายมีการแข่งขันกัน เนื่องจากต้องการปัจจัยเดียวกัน แต่ปัจจัยนั้นมีจำกัดต้องแข่งขันกัน เพื่อให้ได้ปัจจัยนั้น อาจเกิดในกลุ่มประชากร (Population) หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) เช่น กวางตัวผู้ต่อสู้เพื่อแย่งกวางตัวเมีย
มาดูตัวอย่างความสัมพันธ์บางชนิดจากภาพและวิดีทัศน์ต่อไปนี้นะคะ
Predation
สิงโตกับควายป่า
Protocooperation เช่น ควายกับนกเอี้ยง
Mutualism เช่น แบคทีเรียกับรากพืชตระกูลถั่ว
Commensalism เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่
Parasitism เช่น กาฝากกับมะม่วง
Saprophytism เช่น เห็ดกับขอนไม้ผุ
Competition เช่น การต่อสู้ของสัตว์เพศผู้แย่งเพศเมีย
หรือนักเรียนจะศึกษาจากเว็บนี้ก็ได้นะคะhttp://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_sc30/chap01/sc1440.html
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ระบบนิเวศ
สวัสดีค่ะนักเรียน
หลังจากที่ห่างหายจากบล็อกไปนาน วันนี้ครูมีเว็บไซต์มาแนะนำนักเรียนเข้าไปศึกษาระบบนิเวศอีกแล้ว เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งที่นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ เนื้อหาก็ง่ายๆ แบบทดสอบก็ง่ายๆ นักเรียนม.ปลาย อาจบอกว่าเป็นการทบทวนความรู้ ม.ต้น มากกว่า (ข้อความเก่าๆ ที่ครูมีให้ไม่รู้ไปดูกันบ้างหรือยัง ไม่มีตอบกลับมาให้รู้บ้างเลย)
ตามไปดูกันเลยนะคะ
http://www.br.ac.th/ben/science/17/index1.html
หลังจากที่ห่างหายจากบล็อกไปนาน วันนี้ครูมีเว็บไซต์มาแนะนำนักเรียนเข้าไปศึกษาระบบนิเวศอีกแล้ว เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งที่นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ เนื้อหาก็ง่ายๆ แบบทดสอบก็ง่ายๆ นักเรียนม.ปลาย อาจบอกว่าเป็นการทบทวนความรู้ ม.ต้น มากกว่า (ข้อความเก่าๆ ที่ครูมีให้ไม่รู้ไปดูกันบ้างหรือยัง ไม่มีตอบกลับมาให้รู้บ้างเลย)
ตามไปดูกันเลยนะคะ
http://www.br.ac.th/ben/science/17/index1.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)