วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
มีคนขอเซลล์พืชภาษาไทย..จัดให้ค่ะ
ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/data/sunakotum/picture/1190345211.jpg
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างของราก
พอจะสังเกตได้ไหมว่าเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ของปลายรากพืชมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
และความแตกต่างกันนี้จะทำให้แบ่งบริเวณปลายรากพืชออกได้เป็นกี่บริเวณ แต่ละบริเวณมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
ไปลองหาคำตอบกันดูนะคะ
ที่มาของภาพ http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Root/Triticum_(wheat)_root_tip/Root_tip_MC.jpg
ที่มาของภาพ http://www.robinsonlibrary.com/science/botany/anatomy/graphics/roottip.gif
ถ้าตัดปลายรากตามขวาง บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation zone)จะได้ลักษณะเหมือนภาพข้างล่างนี้ แต่ละบริเวณจากด้านนอกเข้าไปก็จะมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ซึ่งนักเรียนศึกษาได้ในกิจกรรม 12.2 ของหนังสือเรียน
โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง
โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง
การเจริญของรากทุติยภูมิ(secondary root) หรือรากแขนงจากเพริไซเคิล แสดงโดยภาพข้างล่างนี้ค่ะ
ที่มาของภาพ
http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/branchroot.jpg
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างของพืช
ที่มาของภาพ http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/lect15.htm
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
เมื่อเข้าถึงหน้าแรกแล้วสามารถศึกษาหน้าต่อๆไปได้เรื่อยๆตามลิงค์ที่ให้ค่ะ
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20tissue.htm
ทบทวนเรื่องเซลล์พืช
เซลล์พืช (Plant cell) คือโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช เซลล์พืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ผนังเซลล์ (Cell wall) และโปรโตพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งโปรโตพลาสต์ประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ภายใน ไซโตพลาสซึมมีออร์แกเนลล์ในเซลล์ (Cell organelles) หลายชนิด และเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้วมักมีแวคคิวโอล (Vacuole) ใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ขนาดและรูปร่างของเซลล์จะแตกต่างกันไปตามชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น
ผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างใหม่ ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่าง ๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสซึม ชั้นใหม่นี้จะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)
ผนังเซลล์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ผนังเซลล์ขั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
2. ผนังเซลล์ขั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังขั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
3. มิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella) คือ ส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน ประกอบด้วยสารเพคติน
ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์กับเซลล์พืชนะคะ
(ที่มา http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/structure cell.html)
เซลล์พืชทุกเซลล์เป็น Eukaryotic cell ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) และอวัยวะ (Organ) ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เซลล์พืชที่มีคลอโรพลาสต์จะทำให้เซลล์เหล่านั้นสามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
นักเรียนจำเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ไหมคะ เซลล์ประเภทนี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสค่ะ เราเรียกว่า Prokaryotic cell ซึ่งเซลล์ประเภทนี้เราจะกล่าวถึงอยู่บ้างในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงนะคะ วันนี้ดูรูปไปก่อน
(ที่มา https://mrsmaine.wikispaces.com/skylyn+and+Cheyanne?f=print )
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
http://www.sc.chula.ac.th/courseware/bio-u2/ppt/b06.ppt
http://bio.sci.ubu.ac.th/course/biology/Plant-tissue.pdf
http://www.mwit.ac.th/~bio/content5.2/Plant%20Forms%20and%20Functions%201%20(Plant%20tissue).pdf
ศึกษาแล้วลองเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องราวดูนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันแรกของการเรียนการสอนาภาคเรียนที่1/2553
อันดับแรกก็เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง...
http://www.biology.mju.ac.th/CourseFile/191.PDF
วันนี้เอาเรื่องเดียวก่อนนะคะ