วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างของดอก



ดอกไม้ทั่วไปประกอบด้วยระยางค์ต่างๆ 4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงเป็นชั้นเป็นวง เรียงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านในคือ

1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอก นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย กลีบเลี้ยงของพืชอาจอยู่แยกกันเป็นกลีบๆ เรียกว่า อะโปเซพัลลัส (Asoposepalous) หรือพอลิเซพัลลัส (Polysepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย และดอกพุทธรักษา แต่บางชนิดกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเรียกว่า แกมโมเซพัลลัส (Gamosepalous) หรือ ซินเซพัลลัส (Synsepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี และดอกแค เป็นต้น วงกลีบเลี้ยงทั้งหมดนี้เรียกว่า แคลิกซ์ (Calyx)

ในพืชบางชนิดกลีบเลี้ยงมีสีต่างๆ นอกจากสีเขียวเรียกว่า เพทัลลอยด์ (Petaloid) ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงในการผสมเกสร เช่นเดียวกับกลีบดอก นอกจากนี้ในดอกชบา และดอกพู่ระหงจะมี ริ้วประดับ (Epicalyx) เป็นกลีบเลี้ยงเล็กๆ ใกล้กลีบเลี้ยง

2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน มักมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (Anthoxanthin) ละลายอยู่ในสารละลายแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกเป็นสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในพลาสติด ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือแสด ส่วนดอกสีขาวและไม่มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิด อาทิเช่น ดอกพุดตาลสามารถเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอกเปลี่ยนแปลงไป วงของกลีบดอกทั้งหมดเรียกว่า collora

ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจัดเป็นส่วนประกอบรอง (Acessory part) ห่อหุ้มอยู่รอบนอกของดอก พืชบางชนิดกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน แยกกันไม่ออกเรียกชั้นนี้ว่า วงกลีบรวม (Perianth) กลีบแต่ละกลีบเรียกว่า ทีพัล (Tepal) ได้แก่ บัวหลวง จำปี และจำปา เป็นต้น

3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันเรียงเป็นชั้นหรือเป็นวงเรียกว่าแอนดรีเซียม (Andrecium) เกสรตัวผู้แต่ละอันอาจอยู่แยกกัน หรือเชื่อมติดกัน บางชนิดอาจติดกับส่วนอื่นของดอกก็ได้ เกสรตัวผู้แต่ละอันจะประกอบขึ้นด้วย ก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และ อับเรณู (Anther) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงมี 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุงเรียกว่า ถุงเรณู (Pollen sac หรือ Microsporangium) จะบรรจุละอองเรณู (Pollen grain) จำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงเรณูจะแตกออก ละอองเรณูจะปลิวออกมา จำนวนเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช พืชโบราณมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมากในขณะที่พืชซึ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้ในดอกจะลดน้อยลง อนึ่งเกสรตัวผู้ของพืชบางชนิดอาจเป็นหมัน จึงไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูได้เรียกว่า สตามิโนด (Staminode) ตัวอย่างเช่น เกสรบางอันของกล้วย และชงโค บางชนิดอาจมีสีสันสวยงามแผ่เป็นแผ่นแบน คล้ายกลีบดอกเรียกว่า เพทัลลอยด์สตามิโนด (Petaloid staminode) เช่น พุทธรักษา

4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกสรตัวเมียในแต่ละดอกอาจมี 1 หรือหลายอันซึ่งแยกจากกันเป็นอิสระ หรือเชื่อมติดกัน ชั้นของเกสรตัวเมียเรียกว่า จินนีเซียม (Gymnoecium) เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1) รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนที่พองโตออกเป็นกระพุ้ง
2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เป็นเส้นเรียวยาวเล็กๆ ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย และเป็นทางผ่านของหลอดละอองเรณู (Pollen tube)
3) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) อยู่ส่วนปลายของละอองเรณูซึ่งมักพองออกเป็นปมมีขนหรือน้ำเหนียวๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามา

ดอกบางชนิดไม่มีก้านเกสรตัวเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะติดกับด้านบนของรังไข่โดยตรง เช่น ดอกมังคุด เป็นต้น

ภายในรังไข่แต่ละอันจะมีโอวุล (Ovule) 1 หรือหลายอัน แต่ละโอวุลจะมีไข่ (Egg) ซึ่งเมื่อผสมกับสเปิร์ม (Sperm) แล้วจะกลายเป็นไซโกต (Zygote) และมีการเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) หรือต้นอ่อน ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ดห่อหุ้มเอมบริโอไว้ โอวุลจะติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ เรียกว่า ฟันนิคูลัส (Funiculus) ผนังของรังไข่ตรงที่ฟันนิคูลัสมาเกาะมักพองโตเล็กน้อยเรียกว่า รก (Placenta)

ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก เปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งเพื่อรองรับส่วนต่างๆ ของดอก มีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบ อาทิเช่น แผ่แบนคล้ายจาน เช่น ทานตะวันเว้าเป็นรูปถ้วย เช่น กุหลาบ นูนสูง เช่น สตรอเบอรี่ เป็นต้น

ริ้วประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ช่วยรองรับดอก หรือช่อดอก อยู่บริเวณโคนก้านดอก มักมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายใบที่ลดขนาดลง หรือเปลี่ยนมาเป็นริ้วเล็กๆ ในดอกชบา พู่ระหง ริ้วประดับมีสีเขียวคล้ายกลีบเลี้ยงเล็กๆ เรียกว่า เอพิแคลิกซ์ (Epicalyx) ริ้วประดับของดอกทานตะวันเป็นใบเล็กๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ บางครั้งริ้วประดับอาจมีสีฉูดฉาดสวยงามคล้ายกลีบดอก เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดริ้วประดับแผ่เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว อาจมีสีสันสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต หรือกาบปลีกล้วย มะพร้าว และหมาก เป็นต้น

29 ความคิดเห็น:

  1. ไม่มีอะไรพูดเก่งดี

    ตอบลบ
  2. Kim Chon Sa นางฟ้าผู้เดียวดาย29 กรกฎาคม 2553 เวลา 05:18

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. คัมซาฮัมนิดะ (ขอบคุณ)

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2553 เวลา 08:16

    ขอบคุณมากคับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ7 กันยายน 2553 เวลา 10:58

    ขอบคุณค่ะ ได้ประโยชน์มากเลย

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณมากค่ะ ^^

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2553 เวลา 11:10

    Thank you for you
    PSRU พิษณุโลก ครับ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณค่ะ

    เป็นประโยชน์มาก ๆ เลย

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ31 พฤษภาคม 2554 เวลา 06:38

    คืออยากจะทราบเรื่องหน้าที่ส่วนประกอบของดอกชบาค่ะ ช่วยเพิ่มให้หน่อยนะค่ะ
    แต่ ขอบคุณจริงๆมันมีประโยชน์ต่อการเรียนมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ6 กรกฎาคม 2554 เวลา 06:00

    ขอบคุณค่ะ
    มีงานไปส่งครูแล้ว

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2554 เวลา 09:08

    carpel คืออะไร
    Apocarpous pistil กับ Syncarpous pistil ต่างกันอย่างไร(อยากได้รูปภาพค่ะ จะได้เห็นภาพมากขึ้น)

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ2 สิงหาคม 2554 เวลา 05:36

    อยากรู้เรื่องโครงสร้างของดอกน่าจะมีให้เยอะกว่านี้ แต่ก็ขอบคุณมันมีประโยชน์มากในการเรียนคะ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2554 เวลา 18:51

    ขอบคุณคับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ11 ธันวาคม 2554 เวลา 19:53

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2555 เวลา 08:01

    ไม่มีรูปอีกหรอครับ

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2555 เวลา 00:56

    ดอกนี้ชื่อว่าดอกอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2555 เวลา 18:46

    ดีจัง

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2555 เวลา 18:49

    ชลธี สุนทร ร.อ 32695

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ27 พฤษภาคม 2555 เวลา 00:09

    น่าจะมีเยอะกว่านี้อะ

    ตอบลบ
  20. ใช่เลยฮ่ะ

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ28 สิงหาคม 2555 เวลา 03:58

    ขอบคุณมากนะคะ เนื้อหาตรงมาก

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:03

    Thank you jaaaaaaa

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:06

    Thank you jaaaaaaa

    ตอบลบ
  24. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2556 เวลา 06:14

    ก็ดีนะ

    ตอบลบ
  25. อยากให้เขียนสูตรประกอบของดอกด้วยได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
  26. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:33

    มีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ