วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
plant structure and growth
ไหนๆโรงเรียนเราก็มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลแล้ว นักเรียนควรต้องพัฒนาคุณลักษณะตนเอง 4 ประการ ได้แก่
1. มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ
2. สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา
3. ล้ำหน้าทางความคิด
4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์
ดังนั้นบล็อกที่ครูสร้างประกอบการเรียนรู้ หากจะมีภาษาอังกฤษปนอยู่มาก ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักเรียนนะคะ
วันนี้ก็มีแหล่งสืบค้นและศึกษาด้วยตนเองมาฝากอีก หวังว่าคงจะมีประโยชน์ต่อการเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกของนักเรียนทุกคนที่เข้ามาศึกษา
http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/intro.html
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
โครงสร้างของลำต้น
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
มีคนขอเซลล์พืชภาษาไทย..จัดให้ค่ะ
ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/data/sunakotum/picture/1190345211.jpg
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างของราก
พอจะสังเกตได้ไหมว่าเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ของปลายรากพืชมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
และความแตกต่างกันนี้จะทำให้แบ่งบริเวณปลายรากพืชออกได้เป็นกี่บริเวณ แต่ละบริเวณมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
ไปลองหาคำตอบกันดูนะคะ
ที่มาของภาพ http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Root/Triticum_(wheat)_root_tip/Root_tip_MC.jpg
ที่มาของภาพ http://www.robinsonlibrary.com/science/botany/anatomy/graphics/roottip.gif
ถ้าตัดปลายรากตามขวาง บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation zone)จะได้ลักษณะเหมือนภาพข้างล่างนี้ แต่ละบริเวณจากด้านนอกเข้าไปก็จะมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ซึ่งนักเรียนศึกษาได้ในกิจกรรม 12.2 ของหนังสือเรียน
โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง
โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง
การเจริญของรากทุติยภูมิ(secondary root) หรือรากแขนงจากเพริไซเคิล แสดงโดยภาพข้างล่างนี้ค่ะ
ที่มาของภาพ
http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/branchroot.jpg
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างของพืช
ที่มาของภาพ http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2002/lect15.htm
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
เมื่อเข้าถึงหน้าแรกแล้วสามารถศึกษาหน้าต่อๆไปได้เรื่อยๆตามลิงค์ที่ให้ค่ะ
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20tissue.htm
ทบทวนเรื่องเซลล์พืช
เซลล์พืช (Plant cell) คือโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช เซลล์พืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ผนังเซลล์ (Cell wall) และโปรโตพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งโปรโตพลาสต์ประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ภายใน ไซโตพลาสซึมมีออร์แกเนลล์ในเซลล์ (Cell organelles) หลายชนิด และเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้วมักมีแวคคิวโอล (Vacuole) ใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ขนาดและรูปร่างของเซลล์จะแตกต่างกันไปตามชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น
ผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างใหม่ ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่าง ๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสซึม ชั้นใหม่นี้จะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)
ผนังเซลล์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ผนังเซลล์ขั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
2. ผนังเซลล์ขั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังขั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
3. มิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella) คือ ส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน ประกอบด้วยสารเพคติน
ภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สัตว์กับเซลล์พืชนะคะ
(ที่มา http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/structure cell.html)
เซลล์พืชทุกเซลล์เป็น Eukaryotic cell ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) และอวัยวะ (Organ) ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เซลล์พืชที่มีคลอโรพลาสต์จะทำให้เซลล์เหล่านั้นสามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
นักเรียนจำเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ไหมคะ เซลล์ประเภทนี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสค่ะ เราเรียกว่า Prokaryotic cell ซึ่งเซลล์ประเภทนี้เราจะกล่าวถึงอยู่บ้างในเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงนะคะ วันนี้ดูรูปไปก่อน
(ที่มา https://mrsmaine.wikispaces.com/skylyn+and+Cheyanne?f=print )
เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
http://www.sc.chula.ac.th/courseware/bio-u2/ppt/b06.ppt
http://bio.sci.ubu.ac.th/course/biology/Plant-tissue.pdf
http://www.mwit.ac.th/~bio/content5.2/Plant%20Forms%20and%20Functions%201%20(Plant%20tissue).pdf
ศึกษาแล้วลองเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องราวดูนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันแรกของการเรียนการสอนาภาคเรียนที่1/2553
อันดับแรกก็เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง...
http://www.biology.mju.ac.th/CourseFile/191.PDF
วันนี้เอาเรื่องเดียวก่อนนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
สวัสดีปีการศึกษาใหม่ 2553
วันเปิดภาคเรียน 10 พฤษภาคม 2553 เราคงยังไม่ได้เริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนชีววิทยา ม.5 (รวมทั้งเคมีและฟิสิกส์) เพราะครูวิทย์ ม.5 ทั้ง 3คน ต้องไปอบรม Master Teacher ภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ระหว่างวันที่ 3-12 พฤษภาคม 2553 วันนี้ครูจึงหาเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษากันล่วงหน้า อาจพอเป็นประโยชน์อยู่บ้างนะคะ ตามไปดูที่ URL ต่อไปนี้เลยค่ะ แล้วอย่าลืมสมัครเป็นผู้ติดตาม เพื่อแสดงข้อคิดเห็นหรือถามสิ่งที่นักเรียนสงสัยกันด้วยนะคะ นักเรียนเลือกเข้าไปศึกษาตามลำดับตั้งแต่เรื่องของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ดนะคะ เพราะบทแรกเราจะเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกกันค่ะ
http://www.thaigoodview.com/node/56390
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ทรัพยากรป่าไม้
ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.
ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)
ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน
สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า
การอนุรักษ์ป่าไม้
ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/forest/forestn.htm
ทรัพยากรธรรมชาติ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติกันนะคะ
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองหรือปรากฏอยู่ตามธรรมชาติโดยที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และอำนวยประโยชน์ต่อธรรมชาติด้วยกันเอง เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ รวมถึงมนุษย์ เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติสามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ (ชัชพงศ์ ทรงสุนทรวงศ์,2546)
1. ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น (Renewable Resource) แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 บรรยากาศ ในบรรยากาศประกอบไปด้วยอากาศซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต นอกจากนั้นยังมีความชื้น อุณหภูมิ และการเคลื่อนไหว ของมวลอากาศ รวมเรียกว่า ภูมิอากาศ (Climate) ซึ่งมีความสำคัญต่อดิน พืชพรรณ และสภาพอื่น ๆ ของสิ่งมีชีวิตบนโลก 1.2 น้ำที่อยู่ในวัฏจักร น้ำที่อยู่ในวัฏจักรจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป จากสภาพหนึ่งเป็นอีกสภาพหนึ่งเรื่อยไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด เช่น จากฝน หิมะลูกเห็บ ตกลงสู่พื้นดิน บางส่วนระเหยกลับไปในอากาศทันที บางส่วนไหลซึมลึกลงไปในน้ำใต้ดินแล้วทยอยไหลลงสู่ห้วย ลำธาร บางส่วนจะไหลไปตามพื้นผิวดินลงสู่แม่น้ำ ลำคลองออกสู่ทะเล มหาสมุทร และระเหยกลายเป็นไอจับตัวเป็นก้อนเมฆ แล้วกลั่นตัวลงมาเป็นฝน การหมุนเวียนของน้ำแบบนี้ไม่มีที่สิ้นสุดหรือไม่หมดไป
2. ทรัพยากรที่เกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Replaceable and Maintainable Resource) แบ่งได้เป็น 7 ชนิด คือ
2.1 น้ำที่อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง หมายถึง น้ำที่อยู่ในที่เฉพาะแห่งที่เราเห็น และใช้กันอยู่ทุกวัน เช่นน้ำในภาชนะ เมื่อใช้แล้วก็หมดไป แต่เราสามารถที่จะหามาทดแทนใหม่ได้
2.2 ดิน หมายถึง เนื้อดินที่เป็นที่อยู่อาศัยของพืช เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช ปัจจัย 4 ของมนุษย์
2.3 ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดินมากกว่าเนื้อดินซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ได้มี 2 ประการด้วยกัน ประการแรก เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยตรงจากการดัดแปลงของมนุษย์ เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ตั้งของเมืองต่าง ๆ ประการที่ 2 เป็นการใช้ประโยชน์ ทางอ้อม โดยใช้ประโยชน์ในรูปของการท่องเที่ยวทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้มีการดัดแปลงแต่อย่างใด จึงจัดที่ดินอยู่ในทรัพยากรประเภทที่สามารถรักษาให้คงอยู่ได้
2.4 ป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ นับว่ามีความสำคัญมากในแง่ของการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสัตว์ป่า ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เนื่องจากป่าไม้เกิดขึ้นทดแทนตามธรรมชาติหรือการปลูกให้เป็นป่าขึ้นมาใหม่ได้ ป่าไม้จึงถูกจัดอยู่ในทรัพยากร ประเภทที่ทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้ ถ้าหากได้มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชา
2.5 ทุ่งหญ้า หมายถึง พื้นที่ที่ส่วนใหญ่มีพืชตระกูลหญ้า และพืชพรรณอื่น ๆ ขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ มักเป็นที่ที่มีฝนตกน้อย เป็นที่หากินของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ทุ่งหญ้าจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้เช่นเดียวกันกับป่าไม้
2.6 สัตว์ป่าที่เป็นสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ป่าทั้งที่อยู่บนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถจะเกิดลูกหลานสืบทอดกันได้ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ และรักษาให้คงอยู่ได้ ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์
2.7 กำลังงานมนุษย์ มนุษย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถใช้กำลังงานทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามกำลังงานมนุษย์เป็นสิ่งที่สูญหายไปได้ แต่ก็สามารถรักษาให้คงอยู่ได้ หรือทำให้เกิดใหม่ ได้เช่นกัน
3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable Resource) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
3.1 แร่ธาตุ มีทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง ถ่านหิน ปิโตรเลียมพวกนี้เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถงอกเงยได้ในเวลาอันสั้นใช้ประโยชน์แล้วก็หมดสิ้นไป แต่บางชนิดอาจนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้
3.2 ที่ดินในสภาพธรรมชาติ ได้แก่ที่ดินที่เป็นป่าเขาห่างไกลชุมชน สมควรเก็บไว้เป็นที่ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ สถานที่เหล่านี้ถูกทำลาย แล้ว จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาแทนใหม่ได้ เพราะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามธรรมชาติ เช่น น้ำตก หน้าผา
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
ทบทวนเรื่องระบบนิเวศก่อนสอบ
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
ทบทวนชีววิทยา ม.ปลายกับKKU
คงเป็นประโยชน์กับผู้เรียนชีววิทยา ม.ปลายที่เข้ามาในบล็อกนี้ทุกๆคนนะคะhttp://202.12.97.4/media/main/index.php?option=com_content&task=view&id=412&Itemid=58