วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
1. Protocooperation เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน เสมอไป ถึงแม้จะแยกกันอยู่ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ เช่นแมลงกับดอกไม้ , นกเอี้ยงกับควาย , ปูเสฉวนกับซีแอนนีโมนี, มดดำกับเพลี้ยแป้ง
2. Mutualism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ ซึ่งกันและกันและจำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน ตลอดไป ถ้าแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไลเคน, แบคทีเรียไรโซเบียมในปมรากพืชตระกูลถั่ว, โปรโตซัวในลำไส้ปลวก
3. Commensalism เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วน อีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้กับต้นไม้ ปลาฉลามกับเหาฉลาม
4. Predation เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า (Predator) ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ว่า เหยื่อ (Prey) เช่น การล่าเหยื่อของสุนัขจิ้งจอก, แมลงกับกบ ,กาบหอยแครงดักจับแมลง,การล่าควายป่าของสิงโต
5. Parasitism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน ์เรียกว่า ปรสิต(Parasite) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกอาศัยเรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (Host) เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง , ต้นฝอยทองกับต้นไม้อื่น, เหาดูดเลือดจากหัวคน , พยาธิต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์, ไส้เดือนฝอยในรากไม้
6. Saprophytism เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลาย บนซากสิ่งมีชีวิตให้เน่าเปื่อยผุพัง กลายเป็นแร่ธาตุ ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ย่อยสลายเอง ส่วนที่เหลือจะสะสมในสิ่งแวดล้อม เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์
7. Competition เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งสองฝ่ายมีการแข่งขันกัน เนื่องจากต้องการปัจจัยเดียวกัน แต่ปัจจัยนั้นมีจำกัดต้องแข่งขันกัน เพื่อให้ได้ปัจจัยนั้น อาจเกิดในกลุ่มประชากร (Population) หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) เช่น กวางตัวผู้ต่อสู้เพื่อแย่งกวางตัวเมีย
มาดูตัวอย่างความสัมพันธ์บางชนิดจากภาพและวิดีทัศน์ต่อไปนี้นะคะ
Predation
สิงโตกับควายป่า
Protocooperation เช่น ควายกับนกเอี้ยง
Mutualism เช่น แบคทีเรียกับรากพืชตระกูลถั่ว
Commensalism เช่น ชายผ้าสีดากับต้นไม้ใหญ่
Parasitism เช่น กาฝากกับมะม่วง
Saprophytism เช่น เห็ดกับขอนไม้ผุ
Competition เช่น การต่อสู้ของสัตว์เพศผู้แย่งเพศเมีย
หรือนักเรียนจะศึกษาจากเว็บนี้ก็ได้นะคะhttp://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_sc30/chap01/sc1440.html
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ระบบนิเวศ
หลังจากที่ห่างหายจากบล็อกไปนาน วันนี้ครูมีเว็บไซต์มาแนะนำนักเรียนเข้าไปศึกษาระบบนิเวศอีกแล้ว เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งที่นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ เนื้อหาก็ง่ายๆ แบบทดสอบก็ง่ายๆ นักเรียนม.ปลาย อาจบอกว่าเป็นการทบทวนความรู้ ม.ต้น มากกว่า (ข้อความเก่าๆ ที่ครูมีให้ไม่รู้ไปดูกันบ้างหรือยัง ไม่มีตอบกลับมาให้รู้บ้างเลย)
ตามไปดูกันเลยนะคะ
http://www.br.ac.th/ben/science/17/index1.html
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
มาดูวิดีทัศน์เกี่ยวกับไบโอมกันเถอะ
ไบโอมทะเลทราย
ไบโอมป่าสน
ไบโอมป่าดิบชื้น
ไบโอมทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่น/เขตร้อน-สะวันนา)
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ชีววิทยา ภาคเรียนที่ 2
หน่วยที่ 1 เรื่องระบบนิเวศ
หน่วยที่ 2 เรื่องประชากร
หน่วยที่ 3 เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
ปิดเทอม ไม่มีอะไรทำ ลองสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยเก็บไว้บ้างนะคะ
ครูมีตัวอย่างบทเรียนทางไกลเรื่องระบบนิเวศ ใครสนใจลองเปิดดูนะคะ ดูตามลำดับที่ลิงก์มาให้ได้เลยค่ะ
http://www.nrru.ac.th/nrru_learning/4062402/sci04/topic3/tp3.html
http://www.nrru.ac.th/nrru_learning/2500104/soc04/topic4/tp4_1.html
http://www.nrru.ac.th/nrru_learning/2500104/soc04/topic5/tp5.html
http://www.nrru.ac.th/nrru_learning/2500104/soc04/topic6/tp6_1.html
http://www.student.chula.ac.th/~47437349/webpage/index2.htm
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ชนิดของไบโอม
ปัจจัยที่เกิดไบโอมชนิดต่างๆ มี 3 ประการคือ
1. การกระจายความร้อนของดวงอาทิตย์และการเกิดฤดูกาลสัมพันธ์ในส่วนต่าง ๆ ของโลก
2. การไหลเวียนของอากาศบนผิวโลก โดยเฉพาะลมมรสุม
3. สภาพทางภูมิศาสตร์ของผิวโลก เช่น ภูเขา
ไบโอมบนบก
สภาพภูมิศาสตร์ตามระดับความสูง มีความคล้ายคลึงกับสภาพภูมิศาสตร์ตามแนวเส้นรุ้ง
เพราะว่าการกำหนดโครงสร้างกลุ่มของพืชจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน
สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดลักษณะการกระจายของพืชพรรณ ผลของการผันแปรดินฟ้าอากาศในมาตราของพื้นที่ ทำให้สามารถแบ่งไบโอมบนบกเป็น 8 ชนิด ได้แก่
1. ป่าไม้เขตร้อน (Tropical rain forest)
2. ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น (Temperate Deciduous forest)
3. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland)
4. ชาพาร์ราล (Chaparral )
5. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Savanna)
6. ทะเลทราย (Desert)
7. ป่าสน (Coniferous forest)
8. ทุนดรา (Tundra)
นักเรียนสามารถสืบค้นไบโอมบนบกได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่นตัวอย่างที่จะให้ต่อไปนี้นะคะ
ไบโอมป่าสน
http://kroo.ipst.ac.th/biology/main.php?url=article_view&article_id=66
ถ้าภาษาอังกฤษไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ก็นี่เลย....
http://www.blueplanetbiomes.org/world_biomes.htm
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ปิดเทอม...ลองทำข้อสอบ bio กันไหม
ให้นักเรียนลองทำดูช่วงปิดเทอม
ขยันๆกันหน่อยนะคะ
http://202.44.68.33/library/exam/intro/biology.htm
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552
ไบโอมคืออะไร
นักเรียนจะได้มีพื้นฐานเรื่องไบโอมที่เราจะเรียนในภาคเรียนต่อไป
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
การงอกของเมล็ด (Germination)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ต้นพืชที่เจริญหลังการงอกที่อาศัยอาหารที่สะสมในเมล็ดเรียกว่า ต้นกล้า
นักเรียนสามารถศึกษาชนิดของการงอกได้จากเว็บข้างล่างนี้นะคะ
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359301/pprop/3.seed/epigeal.html
ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
เมล็ดที่จะงอกได้ จะต้องมีปัจจัยที่เหมาะสม ทั้งเมล็ด และสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้
1. การมีชีวิตของเมล็ด นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเมล็ด การที่เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้น้อย อาจเนื่องจากการเจริญเติบโตของเมล็ด ไม่เหมาะสมขณะที่ยังอยู่บนต้นแม่ หรือเนื่องจากได้รับอันตราย ขณะทำการเก็บเกี่ยว หรือขบวนการในการผลิตเมล็ดไม่ดีพอ
2. สภาพแวดล้อมในขณะเพาะ เมล็ด ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนี้
2.1 น้ำ เป็นตัวทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนตัว และเป็นตัวทำละลายอาหารสะสมภายในเมล็ด ที่อยู่ในสภาวะที่เป็นของแข็ง ให้เปลี่ยนเป็นของเหลว และเคลื่อนที่ได้ ทำให้จุดเจริญของเมล็ดนำไปใช้ได้
2.2 แสง เมล็ดเมื่อเริ่มงอก จะมีทั้งชนิดที่ต้องการแสง ชอบแสง และไม่ต้องการแสง ส่วนใหญ่เมล็ดเมื่อเริ่มงอกจะไม่ต้องการแสง ดังนั้น การเพาะเมล็ดโดยทั่วไป จึงมักกลบดินปิดเมล็ดเสมอ แต่แสงจะมีความจำเป็น หลังจากที่เมล็ดงอกแล้ว ขณะที่เป็นต้นกล้า แสงที่พอเหมาะจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี
2.3 อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสม ช่วยให้เมล็ดดูดน้ำได้เร็วขึ้น กระบวนการในการงอกของเมล็ดเกิดขึ้นเร็ว และช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน พืชเมืองร้อนย่อมต้องการอุณหภูมิสูงกว่าพืชเมืองหนาวเสมอ
2.4 ออกซิเจน เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะเริ่มหายใจมากขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้อ๊อกซิเจน ไปเผาผลาญอาหารภายในเมล้ด ให้เป็นพลังงานใช้ในการงอก ยิ่งเมล็ดที่มีมันมาก ยิ่งต้องใช้อีอกซิเจนมากขึ้น ดังนั้น การกลบดินทับเมล็ดหนาเกินไป หรือใช้ดินเพาะเมล็ด ที่ถ่ายเทอากาศไม่ดี จะมีผลยับยั้งการงอก หรือทำให้เมล็ดงอกช้าลง หรือไม่งอกเลย
การพักตัวของเมล็ด
การพักตัวของเมล็ด หมายถึง ช่วงที่เมล็ดพืชยังไม่พร้อมที่จะงอกขึ้นเป็นต้นพืชใหม่ได้ ดังนั้นการเพาะเมล็ดบางชนิด อาจต้องทำลายการพักตัวของพืชก่อน เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด
1. ลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก วิธีการนี้ ทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น กว่าวิธีการเพาะเมล็ดทั้งเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งวิธีการลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เป็นอันตรายต่อเมล็ดภายใน เพราะอาจทำให้การงอกของเมล็ดสูญเสียไปได้ พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก ได้แก่ มะม่วง
2. ฝนเมล็ด เป็นการทำให้เปลือกแข็งหุ้มเมล็ด เกิดเป็นรอยด้าน โดยการฝนเมล็ดลงบนกระดาษทราย หรือหินฝน ไม่ควรฝนลึกเกินไป และอย่าฝนตรงจุดที่เป็นที่อยู่ของเอ็มบริโอ วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
3. การกะเทาะเอาเมล็ดออก นิยมทำกับพืช ที่มีเมล็ดแข็ง เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกแล้ว จึงค่อยนำเมล็ดอ่อนภายใน ไปทำการเพาะ วิธีนี้จะช่วยให้ เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าวิธีการเพาะแบบไม่กะเทาะเปลือกหุ้ม เมล็ดพืชที่จะต้องทำการกะเทาะเมล็ดก่อนเพาะ ได้แก่ บ๊วย พุทรา สมอจีน
4. การตัดปลายเมล็ด เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เมล็ดพืช งอกได้เร็วกว่าปกติ โดยตัดเปลือกหุ้มเมล็ดทางด้านตรงข้ามกับด้านหัวของเอ็มบริโอและอย่าตัดให้เข้าเนื้อของเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่มีเมล็ดแข็ง เช่น เหรียง หางนกยูงฝรั่ง
5. การแช่น้ำ การนำเมล็ดไปแช่น้ำ จะช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะน้ำ จะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จึงเป็นการช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น น้ำที่ใช้แช่อาจจะเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่ จะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานานถึง 1 – 2 วัน บางชนิดใช้เวลาประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง ทั้งนี้สังเกตจาก ขนาดของเมล็ดขยายใหญ่และเต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่ม ก็นำไปเพาะได้ พืชที่นิยมใช้วิธีนี้ ได้แก่ น้อยหน่า มะขาม มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าว ผักชี
ที่มา: “ การขยายพันธุ์พืช “ กรมส่งเสริมการเกษตร
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
โครงสร้างของเมล็ด
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552
การเกิดเมล็ด
ภายในเมล็ดประกอบด้วยเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม โดยมีเปลือกหุ้มเมล็ดล้อมรอบ เมื่อพืชดอกมีการปฏิสนธิซ้อน จะทำให้ได้ทั้งไซโกตและเอนโดสเปิร์มซึ่งไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์ต่อ ๆ ไป เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์กลายเป็น เอ็มบริโอ ส่วนเอนโดสเปิร์มจะกลายเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหารให้เอ็มบริโอใช้ในการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ แต่อัตราการแบ่งเซลล์ในแต่ละบริเวณจะไม่เท่ากัน จากนั้นเซลล์จะขยายขนาดเอ็มบริโอจึงเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การเจริญเติบโตทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในออวูล ออวูลจึงมีการเจริญเติบโตกลายเป็นเมล็ด รังไข่เจริญไปเป็นผล
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
การถ่ายละอองเรณูและการปฎิสนธิของพืชดอก
การถ่ายละอองเรณู หมายถึง การที่ละอองเรณูไปตกติดที่ยอดเกสรตัวเมียโดยอาศัย ลม น้ำ แมลง หรือดีดกระเด็นไปเอง แมลงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู การถ่ายละอองเรณูถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสืบพันธุ์ของพืช
การถ่ายละอองเรณูเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การถ่ายละอองเรณูในต้นเดียวกัน (Self pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูโดยละอองเรณูจากอับเรณูไปตกบนยอดเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน
2. การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น (Cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณู โดยละอองเรณูจากอับเรณูของดอกต้นหนึ่งไปตกบนยอดเกสรเพศเมียของดอกอีกต้นหนึ่ง
การปฏิสนธิ (Fertilization)
การปฏิสนธิของพืชดอกเป็นกระบวนการที่สเปิร์มนิวเคลียสอันหนึ่งเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ และสเปิร์มนิวเคลียสอีกอันหนึ่งเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสเรียกการปฏิสนธิลักษณะนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization)
เมื่อมีละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูจะสร้างหลอดละอองเรณู (pollen tube)งอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมีย หลอดที่งอกเร็วที่สุดจะผ่านรูไมโครไพล์ของออวุลเข้าไป แล้วทิวบ์นิวเคลียสจะสลายไป ในระยะนี้เจเนอเรทีฟนิวเคลียส จะแบ่งนิวเคลียสทำให้ได้เสปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) 2 อัน เมื่อสเปิร์มนิวเคลียสผ่านรูไมโครไพล์ของออวุลแล้ว สเปิร์มนิวเคลียสอันหึ่ง จะเข้าไปผสมกับ นิวเคลียสของ เซลล์ไข่ ได้เป็นไซโกต แล้วไซโกตจะเจริญต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) ส่วนสเปิร์มนิวเคลียส อีกอันจะเข้าผสม กับเซลล์โพลาร์นิวเคลียส ได้เซลล์ ที่เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สะสมอาหารเรียกว่า เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ส่วนนิวเคลียสที่เหลือคือ แอนติโพแดล และซินเนอร์จิดจะสลายไป
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative nucleus) และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบหรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้
ละอองเรณูของพืชแต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกัน ลองเปิดดูตัวอย่างจากเว็บลิงก์ข้างล่างนี้นะคะ
http://www.immediart.com/catalog/images/big_images/NS_PN_B786630-Pollen_grain,_ESEM-SPL.jpg
http://www.danforthcenter.org/Cells/images/pollen.jpg
http://www.flmnh.ufl.edu/pollen/images/Ipomea.jpg
http://www.iconocast.com/News08_Files/A3EX1/News3_clip_image001.jpg
นักเรียนสามารถหาดูเพิ่มเติมเองจากเว็บอื่นๆ ได้อีกนะคะ
กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ (ovary)ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์ 3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์ (micropyle) เรียกว่า เซลล์แอนติโพแดล (antipodal cell) ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei cell) ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell) และ2 ข้างเรียก เซลล์ซินเนอร์จิด(synergid cell) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552
พฤกษศาสตร์สำหรับเยาวชน
http://www.dnp.go.th/botany/BFC/flwer.html
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประเภทของดอก
1. ใช้ เพศ เป็น เกณฑ์ จำแนกดอกไม้ได้ 2 ประเภท ได้แก่
1.1 ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เป็นดอกที่มีชั้นเกสร เพศ ผู้ และเกสร เพศ เมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยส่วนประกอบอื่นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ดอกกล้วยไม้ ดอกบัว ดอกชบา ฯลฯ
1.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) เป็นดอกที่มีชั้นเกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมียเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ ดอกที่มีแต่เกสรเพศผู้ เรียกว่า ดอกเพศผู้ (staminate flower) ดอกที่มีแต่เกสรเพศเมีย เรียกว่า ดอกเพศเมีย (pistillate flower) เช่น ดอกบวบ ดอกฟักทอง ดอกแตง ดอกมะพร้าว ฯลฯ
2. ใช้ส่วนประกอบต่างๆ บนฐานรองดอกเป็น เกณฑ์ จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
2.1 ดอกสมบูรณ์ (complete flower) เป็นดอกที่มีครบทั้ง 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย เช่น ดอกชบา ดอกแค ดอกกุหลาบ ฯลฯ
2.2 ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) เป็นดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกฟักทอง ดอกแตงกวา ดอกข้าวโพด ฯลฯ
3. จำแนกโดยการติดของส่วนต่างๆ บนฐานรองดอก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่
3.1 ดอกไฮโพจีนัส (hypogenous flower) เป็นชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศ ผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอกที่ต่ำกว่ารังไข่ของเกสรเพศเมีย รังไข่แบบนี้เรียกว่า Superior-ovary ได้แก่ ดอกมะเขือ พริก มะละกอ หอม องุ่น บานบุรี ข้าวโพด ผักกาด ฯลฯ
3.2 ดอกเอพิจีนัส (epigenous flower)เป็น ชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรเพศผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอก ที่สูงกว่ารังไข่ ของเกสรเพศเมีย เนื่องจากฐานรองดอกมีขอบโค้งขึ้นไปหุ้มรังไข่ไว้หมด รังไข่แบบนี้เรียกว่า Inferior ovary ได้แก่ ดอกกล้วย แตงกวา บวบ ชมพู่ ฝรั่ง ฟักทอง กระบองเพชร แอปเปิล ฯลฯ
3.3 ดอกเพริจีนัส (perigenous flower) เป็นชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอกในระดับเดียวกับรังไข่ของเกสรเพศเมียเนื่องจากฐานรองดอกเว้าลงไปและมีขอบโค้งเป็นรูปถ้วยอยู่รอบรังไข่ รังไข่แบบนี้เรียกว่า Half-superior หรือ Half-inferior ovary ได้แก่ ดอกกุหลาบ ถั่วตะแบก อินทนิน เชอรี่ ฯลฯ
4. จำแนกตามจำนวนดอกที่ติดอยู่บนก้านดอก จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
4.1 ดอกเดี่ยว (solitary flower) หมายถึง ดอกที่อยู่บนก้านดอกเพียงดอกเดียว ดอกอาจเกิดที่ปลายกิ่ง หรือลำต้น ตรงบริเวณซอกใบ หรือด้านข้างของกิ่ง เช่น ฟักทอง จำปี ชบา บัว การะเวก
4.2 ดอกช่อ (inflorescence flower) หมายถึง ดอกที่ประกอบด้วยดอกหลายดอกอยู่บนก้านชูดอก (peduncle)เดียวกัน (ดอกย่อยเรียกว่า floret, ก้านดอกย่อยเรียกว่า pedicle แกนกลาง ต่อจากก้านดอก ซึ่งดอกย่อยแยกออกมา เรียกว่า rachis) จำแนกเป็นชนิดย่อยได้ ดังนี้
4.2.1 raceme เป็นช่อดอก ที่มีดอกย่อยเกิดบน rachis โดยดอกแก่อยู่ล่างสุด ดอกอ่อนอยู่บน ดอกล่างสุดจะบานก่อนแล้วดอกอื่นๆ ที่อยู่ถัดขึ้นไปจะบานตามต่อมา pedicel ของดอกย่อยแต่ละดอกยาวเท่าๆ กัน เช่น ดอกหางนกยูง ผักตบชวา กล้วยไม้ พริก เป็นต้น
4.2.2 spike เป็นช่อดอกชนิดเดียวกับ raceme แต่ดอกย่อยทุกดอกไม่มี pedicel ติดอยู่บน rachis เช่น มะพร้าว สับปะรด กระถินณรงค์ เป็นต้น
4.2.3 umbel เป็นดอกช่อที่ก้านดอกย่อยยาวเท่าๆ กัน และแยกออกมาจากจุดเดียวกัน ทำให้ดอกมีลักษณะคล้ายร่ม เช่น ดอกพลับพลึง ดอกหอม ดอกกุยช่าย ว่านมหาลาภ เป็นต้น
4.2.4 head เป็นช่อดอกที่มี rachis เป็นแผ่น ตรงกลางนูนขึ้นเล็กน้อย ดอกย่อยจะติดอยู่บนส่วนที่นูนขึ้นมานี้ ดอกย่อยส่วนมากไม่มี pedicel หรือมี pedicel สั้นมาก มีวงประดับอยู่ที่ฐานของช่อดอก บางชนิดจะมีวงใบประดับที่โคนของดอกย่อยแต่ละดอกอีกด้วย เช่น ดอกทานตะวัน ดอกดาวเรือง ดอกบานชื่น ดอกบานไม่รู้โรย เป็นต้น
4.2.5 cyme เป็นช่อดอกที่ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ 3ดอก โดยมี pedicel ออกมาจากปลายของ peduncle ที่จุดเดียวกัน ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อนดอกที่อยู่รอบข้าง เช่น ดอกมะลิลา ดอกต้อยติ่ง
โครงสร้างของดอก
1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอก นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย กลีบเลี้ยงของพืชอาจอยู่แยกกันเป็นกลีบๆ เรียกว่า อะโปเซพัลลัส (Asoposepalous) หรือพอลิเซพัลลัส (Polysepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย และดอกพุทธรักษา แต่บางชนิดกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเรียกว่า แกมโมเซพัลลัส (Gamosepalous) หรือ ซินเซพัลลัส (Synsepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี และดอกแค เป็นต้น วงกลีบเลี้ยงทั้งหมดนี้เรียกว่า แคลิกซ์ (Calyx)
ในพืชบางชนิดกลีบเลี้ยงมีสีต่างๆ นอกจากสีเขียวเรียกว่า เพทัลลอยด์ (Petaloid) ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงในการผสมเกสร เช่นเดียวกับกลีบดอก นอกจากนี้ในดอกชบา และดอกพู่ระหงจะมี ริ้วประดับ (Epicalyx) เป็นกลีบเลี้ยงเล็กๆ ใกล้กลีบเลี้ยง
2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน มักมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (Anthoxanthin) ละลายอยู่ในสารละลายแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกเป็นสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในพลาสติด ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือแสด ส่วนดอกสีขาวและไม่มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิด อาทิเช่น ดอกพุดตาลสามารถเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอกเปลี่ยนแปลงไป วงของกลีบดอกทั้งหมดเรียกว่า collora
ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจัดเป็นส่วนประกอบรอง (Acessory part) ห่อหุ้มอยู่รอบนอกของดอก พืชบางชนิดกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน แยกกันไม่ออกเรียกชั้นนี้ว่า วงกลีบรวม (Perianth) กลีบแต่ละกลีบเรียกว่า ทีพัล (Tepal) ได้แก่ บัวหลวง จำปี และจำปา เป็นต้น
3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันเรียงเป็นชั้นหรือเป็นวงเรียกว่าแอนดรีเซียม (Andrecium) เกสรตัวผู้แต่ละอันอาจอยู่แยกกัน หรือเชื่อมติดกัน บางชนิดอาจติดกับส่วนอื่นของดอกก็ได้ เกสรตัวผู้แต่ละอันจะประกอบขึ้นด้วย ก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และ อับเรณู (Anther) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงมี 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุงเรียกว่า ถุงเรณู (Pollen sac หรือ Microsporangium) จะบรรจุละอองเรณู (Pollen grain) จำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงเรณูจะแตกออก ละอองเรณูจะปลิวออกมา จำนวนเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช พืชโบราณมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมากในขณะที่พืชซึ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้ในดอกจะลดน้อยลง อนึ่งเกสรตัวผู้ของพืชบางชนิดอาจเป็นหมัน จึงไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูได้เรียกว่า สตามิโนด (Staminode) ตัวอย่างเช่น เกสรบางอันของกล้วย และชงโค บางชนิดอาจมีสีสันสวยงามแผ่เป็นแผ่นแบน คล้ายกลีบดอกเรียกว่า เพทัลลอยด์สตามิโนด (Petaloid staminode) เช่น พุทธรักษา
4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกสรตัวเมียในแต่ละดอกอาจมี 1 หรือหลายอันซึ่งแยกจากกันเป็นอิสระ หรือเชื่อมติดกัน ชั้นของเกสรตัวเมียเรียกว่า จินนีเซียม (Gymnoecium) เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เป็นเส้นเรียวยาวเล็กๆ ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย และเป็นทางผ่านของหลอดละอองเรณู (Pollen tube)
3) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) อยู่ส่วนปลายของละอองเรณูซึ่งมักพองออกเป็นปมมีขนหรือน้ำเหนียวๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามา
ดอกบางชนิดไม่มีก้านเกสรตัวเมีย ยอดเกสรตัวเมียจะติดกับด้านบนของรังไข่โดยตรง เช่น ดอกมังคุด เป็นต้น
ภายในรังไข่แต่ละอันจะมีโอวุล (Ovule) 1 หรือหลายอัน แต่ละโอวุลจะมีไข่ (Egg) ซึ่งเมื่อผสมกับสเปิร์ม (Sperm) แล้วจะกลายเป็นไซโกต (Zygote) และมีการเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) หรือต้นอ่อน ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ดห่อหุ้มเอมบริโอไว้ โอวุลจะติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ เรียกว่า ฟันนิคูลัส (Funiculus) ผนังของรังไข่ตรงที่ฟันนิคูลัสมาเกาะมักพองโตเล็กน้อยเรียกว่า รก (Placenta)
ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก เปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งเพื่อรองรับส่วนต่างๆ ของดอก มีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบ อาทิเช่น แผ่แบนคล้ายจาน เช่น ทานตะวันเว้าเป็นรูปถ้วย เช่น กุหลาบ นูนสูง เช่น สตรอเบอรี่ เป็นต้น
ริ้วประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ช่วยรองรับดอก หรือช่อดอก อยู่บริเวณโคนก้านดอก มักมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายใบที่ลดขนาดลง หรือเปลี่ยนมาเป็นริ้วเล็กๆ ในดอกชบา พู่ระหง ริ้วประดับมีสีเขียวคล้ายกลีบเลี้ยงเล็กๆ เรียกว่า เอพิแคลิกซ์ (Epicalyx) ริ้วประดับของดอกทานตะวันเป็นใบเล็กๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ บางครั้งริ้วประดับอาจมีสีฉูดฉาดสวยงามคล้ายกลีบดอก เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดริ้วประดับแผ่เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว อาจมีสีสันสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต หรือกาบปลีกล้วย มะพร้าว และหมาก เป็นต้น
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
แหล่งเกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง
http://www.biology.iupui.edu/biocourses/N100/images/ch9chloroplast.jpg
http://micro.magnet.fsu.edu/cells/chloroplasts/images/chloroplastsfigure1.jpg
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการตอบสนองของพืช
ทั้งสองเรื่องนักเรียนมีพื้นฐานแล้วมาจากช่วงชั้นที่ 3(มัธยมศึกษาตอนต้น) ในช่วงชั้นที่ 4 จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากเดิม
มากอยู่ ลองศึกษาจาก presentation ในเว็บต่อไปนี้นะคะ
การสืบพันธุ์ของพืชดอก http://www.pm.ac.th/benjawan/reproduction.ppt
การตอบสนองของพืช http://www.pm.ac.th/benjawan/response.ppt
นักเรียนควรตอบคำถามประกอบเนื้อหาในแบบเรียนให้ครบถ้วนนะคะ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในบทเรียนด้วยตนเองด้วยตัวเอง
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การสังเคราะห์ด้วยแสง (อีกครั้ง)
หากมีข้อสงสัยฝากคำถามในส่วนแสดงความคิดเห็นในบล็อกหรือส่ง mailไปที่ pa_pu@hotmail.com ได้ค่ะ
วันนี้มาเรียนรู้เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) จากผลงานของคุณครูโรงเรียนพิมายวิทยากันบ้างนะคะ เริ่มตั้งแต่ประวัติการค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจนถึงการปรับตัวของพืชเพื่อรับแสงกันเลย ครูคิดว่าน่าจะช่วยให้นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เป็นอย่างดี
ตามไปดูเลยค่ะ.....http://www.pm.ac.th/ebook/pdf/bio_pdf/photosynthesis.pdf
ถ้าภาษาอังกฤษไม่เป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ มาดูสรุปจากเว็บข้างล่างนี้กันอีกนะคะ
http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/lectures/ps01.htm
Photosynthesis in music
ดูกันหลายๆรอบ เพื่อจะทำความเข้าใจในบางช่วงบางตอนที่ดูไม่ทันในรอบแรกๆ ขอให้มีความสุขกับเสียงเพลงนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การสังเคราะห์ด้วยแสง(Photosynthesis)
http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/bio1/Chapter8/main.html
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY4_photosyn.htm
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/photosynthesis/
แต่ถ้าต้องการดู animation ของเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงก็ลองดูบทความที่ครูแสดงไว้เมื่อเดือนมิถุนายนนะคะ
วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/leaf.htm
http://kruwasana.info/leaves.html
ส่วนเว็บไซต์ข้างล่างนี้ เสริมความรู้เกี่ยวกับพืชกินแมลง
โดยเฉพาะส่วนที่เป็นบทความวิชาการ และ จากทางบ้าน นักเรียนไม่ควรพลาด!!!!!!!
http://www.neofarmthailand.com/
เว็บข้างล่างนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องใบนะคะ แต่เป็นของขวัญให้ "แม่" จากลูกสาวคนเล็กของครู เนื่องในโอกาส "วันแม่" ปี 2552 นี้.....และวันนี้ก็เป็น "วันแม่" พอดี จึงนำมาเผยแพร่ให้ดูเพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึง "พระคุณของแม่" ...หาโอกาสทำสิ่งดีๆ เพื่อให้แม่มีความสุขกันนะคะ
http://www.youtube.com/watch?v=66D2ABaL2V0&feature=player_embedded
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552
มารู้จักพืชกินแมลงกันเถอะ
นักเรียนรู้จักพืชกินแมลงชนิดใดบ้างไหมคะ มาดูกันหน่อยว่ามีอะไรบ้าง
1. ดุสิตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Utricularia delphinioides Thor.ex Pell. ชื่อวงศ์ LENTIBULARIACEAE เป็นพืชล้มลุกกินแมลง ลำต้นขึ้นเป็นกอเล็ก สูง 10-20 ซม.สูงเต็มที่ไม่เกิน 25 ซม.อายุปีเดียว ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ที่ข้อใกล้โคนต้นมีเส้นกลางใบ 1 เส้น พอได้ระยะหนึ่งจะมีใบเปลี่ยนเป็นม้วนกลมสำหรับเป็นกับดักจับแมลงเป็นอาหารหรือปุ๋ย ดอก สีม่วงเข้ม เป็นช่อดอกช่อเดียวแทงขึ้นจากโคนกอ ช่อดอกตั้งสูงประมาณ 5-20 ซม.แต่ละดอกมีดอกย่อย 3-5 ดอก ดอกย่อยออกเรียงสลับกัน ขนาดประมาณ 6-10 มม. กลีบดอกล่างแผ่ออกเป็น 2 ปาก ออกดอกช่วงเดือน กันยายนถึงธันวาคมผล เป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่ รูปทรงรีคล้ายกับแคปซูล ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและยกกอ พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามบริเวณพื้นที่โล่ง สภาพดินชุ่มชื้นและแฉะ
2. มณีเทวา หรือ กระดุมเงิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Eriocaulon smitinandii Moldenke เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ ERIOCAULACEAE ลักษณะต้นเป็นกอขนาดเล็ก คล้ายหญ้าสูง 2-6 ซม. ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก รูปขอบขนานแคบ เรียวแหลม เรียงเวียนเป็นวงที่โคนต้น ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ สูง 5-15 ซม. ที่ปลายยอดลักษณะเป็นก้อนกลม ขนาด0.3-0.8 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก อัดกันแน่น ผล เป็นผลแห้ง ชนิดเมื่อแก่แล้วไม่แตก ในประเทศไทยพบตามบริเวณที่ชุ่มชื้นและแฉะ ในที่โล่งหรือชายป่าโปร่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ออกดอกในช่วงเดือน กันยายน- ธันวาคม
3. หม้อข้าวหม้อแกงลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Nepenthes mirabilis อยู่ในวงศ์ NEPENTHACEAE ลักษณะลำต้น มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอหนาแน่น หรือถ้าเป็นต้นอ่อนจะขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ลำต้นอาจเลื่อยไปตามพื้นดิน หรือเกาะไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ยาว 12-18 เซนติเมตร ปลายใบเป็นกระเปาะคล้ายเยือก ยาว 10-15 เซนติเมตร กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิด เมื่อกระเปาะแก่ฝาจะเปิด กระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาลอมแดง และสีเขียวปนแดงเรื่อๆ ภายในกระเปาะมีขนป้องกันแมลงที่ตกเข้าไป ไม่ให้ออกได้ อีกทั้งผิวกระเปาะยังมีรูเล็กๆจำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลายแมลงเป็นอาหาร ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว 50-100 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่กันคนละต้น จะออกดอกระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ลักษณะผล เป็นฝักที่มีเมล็ดเป็นจำนวนมากอยู่ภายใน ในไทยประเทศไทยส่วนใหญ่สามารถพบตามภูเขาหรือที่ราบลุ่มที่มีความชื้นพอประมาณ พบทั่วทุกภาค
4. กาบหอยแครง อาจเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ว่านกาบหอยแครง หรือ ว่านชักมดลูก ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea Sw. อยู่ในวงศ์ COMMELENACEAE เป็นพืชที่เจริญได้ดีในเขตร้อน เป็นไม้อวบน้ำ ลำต้นเจริญเป็นพุ่มสูง 20-60 ซม. ใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นกาบหุ้มรอบต้น รูปใบคล้ายหอก ปลายแหลมโคนตัด ขอบใบเรียบ ยาว 15-45 ซม. แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีม่วงแดง ไม่มีก้านใบ ดอกเป็นช่อดอกที่ซอกใบ มีใบประดับสีม่วงอมเขียว 2 อันประกอบกัน ลักษณะคล้ายเรือ ชอบแสงปานกลาง ทนแสงแดดจัด และทนแล้งได้ดี ใช้ประโยชน์โดยปลูกพืชคลุมดิน และใช้เป็นยาสมุนไพร โดยนำมาต้มปรุงเป็นยารักษาโรค ขยายพันธุ์โดยการปักชำ และแยกหน่อ
กาบหอยแครงเป็นพืชกินแมลงที่คนรู้จักมากที่สุดเพราะมีกับดักที่สามารถงับแมลงได้อย่างว่องไว บางทีก็ถูกเรียกเป็นเพชฌฆาตจอมโหด พิสูจน์ได้จากคลิปนี้ http://atcloud.com/stories/26702
5. หยาดน้ำค้าง เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ CROSERACEAE ขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นจะขึ้นแนบตามพื้นดิน ใบเดี่ยว เป็นแผ่นรูปมนรี กว้าง 4 เซนติเมตร อัดกันแน่นเรียงซ้อนกันเป็นรูปวงกลมอวบอ้วน คล้ายกลีบดอกซ้อนกัน หนา 1.5-3 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียว แผ่นใบเรียบจะมีขนเล็กๆ สีแดงตามขอบใบจำนวนมาก ส่วนปลายใบจะมีน้ำหวานเหนียวๆ คล้ายกาวหยดเล็กๆ ไว้ดักจับแมลงเป็นอาหาร ดอก ออกเป็นช่อจากใจกลางของลำต้น เมื่อโตเต็มที่ดอกจะกว้าง 6 นิ้ว ยาว 5-15 ซม. ดอกจะบานสะพรั่งช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ขยายพันธุ์โดย เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ชอบดินร่วน ชอบขึ้นบริเวณทุ่งโล่งที่มีแสงแดดจัด ตามภูเขา ลานหินทราย ที่มีน้ำชื้นแฉะบริเวณริมธาร มักพบเห็นอยู่ทั่วไป แหล่งที่พบมากที่สุดในไทย คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.)
6. สาหร่ายข้าวเหนียว อาจเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น กาแหนเครือ, สายตีนกุ้ง, สาลี, สาหร่ายไข่ปู, สาหร่ายดอกเหลือง, สาหร่ายตีนกุ้ง, สาหร่ายนา และแหนเครือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Utricularia aurea Lour. ลักษณะลำต้น เป็นไม้ล้มลุกจำพวกพืชน้ำ ลำต้นลอยอยู่ในน้ำ เป็นรูปอวบกลม สูง 10-15 ซม. และทอดยาวได้ถึง 1 เมตร รวมทั้งแตกแขนงได้มาก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือเป็นเกลียว โดยออกเป็นกระจุก ๆ ละ 4 ใบตามโคนต้น เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของใบเป็นรูปเส้นเล็ก ๆ ยาวราว 2-4 ซม. มีอวัยวะจับแมลงออกตามซอกใบ เป็นกระเปาะขนาดเล็กจิ๋ว รูปไข่เบี้ยว เป็นจำนวนมาก เพื่อไว้ดักจับแมลงเล็ก ๆ และจะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ใต้น้ำเท่านั้น กลไกบนกระเปาะดักจับแมลงมีความน่าทึ่งมาก ซึ่งตรงปากทางเข้าออกของกระเปาะจะมีเส้นขนที่ทำหน้าที่เหมือนสลักกับดัก เมื่อมีเหยื่อประเภทตัวอ่อน แมลงในน้ำ หรือไรน้ำตัวเล็ก ๆ ว่ายมาโดนสลักก็จะทำให้ปากกระเปาะเปิดออก แล้วเกิดแรงดึงดูดอย่างแรงและเร็วเพื่อดูดแมลงให้เข้าไปในกระเปาะก่อนที่มันจะหนีได้ทัน ในที่สุดแมลงเหล่านั้นก็จะกลายเป็นอาหารของพืชพิสดารชนิดนี้ด้วยการปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเหยื่อกลายเป็นธาตุอาหารหล่อเลี้ยงต้นต่อไป ก้านกระเปาะยาว 0.1-0.4 ซม. ดอก มีลักษณะเป็นช่อดอก ชูช่อขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ก้านช่อดอกยาวราว 5-25 ซม. ช่อละ 4-8 ดอก ดอกสีเหลืองสด โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกเป็น 2 กลีบและมีขนปกคลุม กลีบบนรูปกลมเรียบและมีลายเส้นสีน้ำตาลแดงที่โคน กลีบล่างมีขนาดใหญ่กว่า บริเวณโคนดอกเป็นจงอยกลีบยื่นออกมาเป็นรูปเดือยปลายแหลม ออกดอกตลอดปี แต่มีมากในราวเดือน ส.ค. - ธ.ค. ผลค่อนข้างกลม ขนาด 0.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่คงทน ผลเป็นผลแห้งแก่แล้วแตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปห้าเหลี่ยมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ขนาด 0.15-0.2 ซม. ในประเทศไทย พบขึ้นอยู่ในนาข้าว บ่อเลี้ยงปลา หนองน้ำ ลำห้วยลำคลอง ตลอดจนแหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำขังบนภูเขาสูงทั่วทุกภาค มีแหล่งกำเนิดและแพร่กระจายอยู่ในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
การคายน้ำของพืช
สัปดาห์นี้ครูให้นักเรียนรายงานหน้าชั้นเกี่ยวกับการคายน้ำของพืช ซึ่งต่างก็ให้ข้อมูลตรงกันว่าพืชสามารถคายน้ำทางปากใบ ผิวใบ และเลนติเซล (ใครที่ติดตามรายละเอียดข้อมูลจากเพื่อนไม่ทัน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากบล็อกของครูช่วงแรกๆ ได้นะคะ) แต่นักเรียนทราบไหมว่าแหล่งเกิดการคายน้ำเหล่านี้ เป็นแหล่งที่พืชใช้แลกเปลี่ยนแก๊สในกระบวนการหายใจได้ด้วย
วันนี้ครูมีข้อมูลจากเว็บของ สสวท.(ซึ่งเป็นอีกแหล่งเรียนรู้หนึ่งของนักเรียน)มาเผยแพร่ เป็นความรู้เสริมในเรื่องการคายน้ำของพืชได้อีกระดับหนึ่ง มาดูกันนะคะ
ทำไมลำต้นพืชถึงต้องมีรู
คุณเคยเห็นพืชร้องไห้บ้างไหม
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
โครงสร้างภายในของลำต้น
วันนี้มาดูโครงสร้างภายในของลำต้นพืชตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่กัน....
โครงสร้างของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ แตกต่างกัน ทำให้แบ่งชั้นของเนื้อเยื่อได้เป็น 3 บริเวณ
เรียงจากภายนอกเข้าไป ได้แก่ Epidermis Cortex และ Stele
แต่ละบริเวณก็มีรายละเอียดที่นักเรียนจะศึกษาได้จากลิงก์ต่อไปนี้นะคะ (เอาเว็บต่างประเทศมาให้ดู จะได้เคยชินกับคำศัพท์เฉพาะ..คงไม่ว่ากัน)
* ดูลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว http://www.botany.hawaii.edu/nlc_biology/1411/lab/StemLab/slide2.jpg
* ดูมัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ของข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/labs/cornb3.gif
* นี่ก็น่าสนใจ ..มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างของลำต้นพืชใบเลี่ยงคู่ที่มีเนื้อไม้ (Woody stem)ให้ศึกษาเพิ่มเติม http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/S/Stems.html
* เว็บนี้เป็นโครงสร้างภายในของลำต้น "ทานตะวัน" แสดงให้เห็นว่า เนื้อเยือชั้นเอนโดเดอร์มิส และเพริไซเคิลที่หลายตำราบอกว่าพบในราก มักไม่พบในลำต้น แต่อาจพบได้ในลำต้นพืชบางชนิด เช่น "ทานตะวัน" นี่ไง
http://www.tutorvista.com/content/biology/biology-iii/plant-histology/anatomy-dicot-stem.php
เว็บเหล่านี้มีเรื่องอื่น ๆ ให้คลิกดูต่อตามความสนใจด้วยค่ะ ลองติดตามดูนะคะ
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ชนิดของลำต้น
วันนี้เรามาเรียนรู้หน้าที่ และชนิดของลำต้น (Stem) กันนะคะ
ลำต้นมีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
1. เป็นแกนพยุงโครงสร้างของพืช (Supporting)
2. เป็นทางในการลำเลียง (Transporting)
นอกจากนี้ ลำต้นบางชนิดอาจทำหน้าที่พิเศษต่าง ๆ เช่น สะสมอาหาร แพร่พันธุ์ เป็นหนามป้องกันอันตราย ยึดเกาะ ฯลฯ
ชนิดของลำต้น แบ่งตามแหล่งที่อยู่ได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลำต้นเหนือดิน ( Terrestrial stem) และลำต้นใต้ดิน (Underground stem)
ลำต้นปกติทั่วไปจะเป็นลำต้นเหนือดินค่ะ
ลำต้นเหนือดินแบ่งตามลักษณะและขนาด ได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ต้นไม้ยืนต้น (Tree) ต้นไม้พุ่ม (Shrub) และต้นไม้ล้มลุก(Herb)
คลิกดูรูปตัวอย่างไม้ยืนต้นนะคะ http://depts.washington.edu/czone/images/trees_mem_planes.jpg
คลิกดูรูปตัวอย่างไม้พุ่มค่ะ http://www.miraclefruitusa.com/images/shrub1.jpg
และดูรูปตัวอย่างไม้ล้มลุก http://gotoknow.org/file/pantree/11.jpg
ลำต้นเหนือดินบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ไปจากที่ตั้งตรงอยู่เหนือดินไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified stem) ทำให้จำแนกได้เป็น 4 ชนิดได้แก่
1. ลำต้นเลื้อย (Creeping stem) อาจเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำ ตามข้อที่ขนานกับพื้นผิวมักมีรากงอกออกมา คลิกดูรูปตัวอย่างนะคะ
นี่ผักบุ้งค่ะ http://www.scriptdd.com/_file/images/home19-11-2005-4.jpg และนี่บัวบก (ชื่อก็บอกว่าอยู่บนดิน) http://www.skn.ac.th/skl/skn42/veget71/ve8.jpg
2. ลำต้นไต่ (Climbing stem) เป็นลำต้นพิเศษที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อชูต้นขึ้นสู่ที่สูง มีหลายชนิด ได้แก่
* Twining stem เป็นลำต้นที่ไต่พันหลักเป็นเกลียวขึ้นไปเรียก เช่น ถั่ว
http://www.dkimages.com/discover/previews/966/30023796.JPG
* Stem tendril เป็นลำต้นที่เปลี่ยนเป็นมือเกาะที่มักมีลักษณะคล้ายสปริง เช่น พวงชมพูhttp://pirun.ku.ac.th/~fscippp/lab114/chap3/images/stem%20tendril2_low.JPG
* Root climber เป็นลำต้นที่เลื้อยตามหลักหรือต้นไม้อื่น โดยมีรากงอกจากข้อออกมาเกาะยึด เช่น ดีปลีhttp://kruwasana.info/root_files/image035.jpg
พลูด่าง
http://www.meartprobuilt.com/decorguide/8526.jpg
* Thorny stem หรือ Stem spine บางทีเรียก Scramber ใช้หนามหรือขอเกี่ยว เช่น เฟื่องฟ้า http://www.dkimages.com/discover/previews/914/65029244.JPG
3. แคลโดฟิลล์ (Cladophyll) เป็นลำต้นที่มีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เช่น ต้นพญาไร้ใบ
http://pirun.ku.ac.th/~fscippp/lab114/chap3/images/cladophyll_low.JPG ต้นกระบองเพชร
4. บัลบิล (Bulbil) บางทีเรียก Crown หรือ Slip เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบหรือลำต้น หรือยอดของลำต้น เมื่อร่วงลงดินสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ เช่น หน่อสับปะรด
http://www.storageimage.com/imageuser/07/05/14/thaisellingp5283643n1.jpg ป่านศรนารายณ์
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/pictures/l17-189a.jpg
ลำต้นใต้ดิน มักมีรูปร่างแตกต่างจากลำต้นเหนือดิน อาจเรียกว่าเป็น Modified stem ด้วยก็ได้ ลำต้นใต้ดินจำแนกตามลักษณะรูปร่างได้ 4 ชนิด
มาดูชนิดของลำต้นใต้ดินจากเว็บข้างล่างนี้นะคะ
http://www.pharm.chula.ac.th/vsuntree/pcog1/stem/stem7.htm
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โครงสร้างภายในของราก
- เอพิเดอร์มิส ( epidermis ) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวผนังเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ บริเวณปลายรากส่วนที่เรียกว่า บริเวณขนราก ( root hair ) จะพบเซลล์เอพิเดอร์มิสที่ยื่นออกมา เรียกส่วนยื่นนี้ว่า ขนราก ( root hair ) ช่วยในการดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆให้แก่พืช
- คอร์เทกซ์ ( cortex ) เป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์พวกพาเรงคิมา ( Parenchyma) เป็นส่วนใหญ่ เรียงตัวกันหลายแถว เซลล์ไม่มีคลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็ก เรียงตัวชั้นเดียว เรียกว่า เอนโดเดอร์มีส ( endodermis ) ในขณะที่รากยังอ่อนอยู่ผนังเซลล์จะบาง แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น จะมีสารพวกซูเบอริน ( suburin ) มาเกาะตามขวางของเซลล์ สารซูเบอรินเป็นสารที่น้ำผ่านไม่ได้ ดังนั้นการไหลของน้ำผ่านเอนโดเดอร์มิสเข้าสู่ด้านในจึงต้องผ่านเซลล์ของเอนโดเดอร์มิสที่มีอายุน้อยหรือเซลล์ที่ไม่มีซูเบอริน ที่เรียกว่า พาสเสด เซลล์ ( passage cell ) ซึ่งอยู่รัศมีเดียวกันกับไซเลมโดยตรง
- สตีล ( stele ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้นเอนโดเดอร์มิส เข้าไปในรากพบว่าชั้นของสตีลแคบกว่าชั้นคอร์เทกซ์ ชั้นสตีลประกอบด้วยชั้นเนื้อเยื่อลักษณะต่างๆ ได้แก่ เพริไซเคิล ( pericycle ) เป็นชั้นของเซลล์ที่ต่อจากเอนโดเดอร์มิสเข้ามาเซลล์เรียงกันแถวเดียวหรือ 2 แถวเท่านั้น เพริไซเคิล เป็นจุดกำเนิดของรากแขนง ในลำต้นไม่มีเนื้อเยื่อชั้นนี้ ถัดจากเพริไซเคิลเป็นกลุ่มท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล ( vascular bundle ) ประกอบด้วยไซเลม ( xylem ) และโฟลเอม ( phloem ) ซึ่งมีการจัดเรียงตัวแตกต่างกันในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และ พืชใบเลี้ยงคู่ ชั้นสุดของพืชในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า พิธ (Pith)
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
วันนี้ครูมี animation เกี่ยวกับ Photosynthesis มาฝาก
ตามดูจากเว็บไซต์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ แต่บอกก่อนว่าต้องอาศัยทักษะทางภาษาอังกฤษด้วยนะคะ
http://www.youtube.com/watch?v=hj_WKgnL6MI
http://www.youtube.com/watch?v=eY1ReqiYwYs&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=mHU27qYJNU0&feature=related
ส่วนเว็บต่อไปนี้.. น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการดัดแปลงเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบของเพลง เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถด้านดนตรีลองทำดู...เอาไปดัดแปลงใช้กับเนื้อหาเรื่องอื่นๆได้ด้วย
http://http://www.youtube.com/watch?v=D2oIBuJNDdc&feature=related
www.youtube.com/watch?v=Q_1mxZdF2TY&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=fsBg6w0N23Q&feature=related
โครงสร้างของปลายราก
ปลายราก ( root tip ) ประกอบด้วยบริเวณต่างๆ 4 บริเวณ เรียงลำดับจากปลายสุดขึ้นมา ดังนี้
1. บริเวณหมวกราก ( region of root cap) ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อเจริญ เซลล์ของหมวกรากจะฉีกขาดอยู่เสมอเมื่อรากยาวขึ้นและเจริญลงไปในดิน แต่เนื้อเยื่อเจริญก็จะสร้างหมวกรากใหม่อยู่เรื่อยๆ ผนังเซลล์ด้านนอกจะมีน้ำเมือกอยู่เสมอเพื่อช่วยให้ปลายรากเจริญเติบโตลงไปในดินได้สะดวก รากของพืชบกทั่วไปจะมีหมวกรากแต่รากของพืชน้ำมักไม่ปรากฎ ยกเว้นรากของแหน
2. บริเวณเซลล์แบ่งตัว ( region of cell division ) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดหมวกรากขึ้นไป ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ (meristem) ที่มีเซลล์ขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง ภายในมีโปรโตพลาสซึมมาก มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิส (mitosis) ตลอดเวลา ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น บางส่วนจะเจริญเป็นหมวกราก บางส่วนจะเจริญเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาวขึ้นอยู่ในบริเวณที่สูงถัดจากบริเวณนี้ขึ้นไป
3. บริเวณเซลล์ยืดตัว ( region of cell elongation ) เป็นกลุ่มเซลล์ที่เจริญมาจากการแบ่งเซลล์ เซลล์ในบริเวณนี้มีแวคิวโอล (vacuole) ใหญ่ ขนาดเซลล์ก็ขยายใหญ่กว่าบริเวณเซลล์แบ่งตัว โดยเฉพาะในทางความยาวจะยาวอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้รากยาวขึ้น
4. บริเวณเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะและเจริญเติบโตเต็มที่ ( region of cell diferentiation and maturation ) เซลล์บริเวณนี้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปต่างๆกัน ผนังเซลล์หนาขึ้น มีการแบ่งกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้ชัดเจน โดยผิวรอบนอกของรากจะเป็น epidermis ถัดเข้าไปเป็น cortex และ stele ในบริเวณนี้จะพบว่ารากแตกต่างจากลำต้นอย่างเด่นชัด epidermis ของรากในบริเวณนี้มีขนราก (root hair) แตกออกมาโดยรอบเพื่อทำหน้าที่ดูดน้ำและเกลือแร่จากดิน ขนรากมีอายุสั้นมาก เจริญเติบโตโดยผนังของเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermal cell) ยื่นยาวออกไปโดยไม่มีผนังกั้น เรียกเซลล์เอพิเดอร์มิสที่มีขนรากว่าเซลล์ขนราก (root hair cell)
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
วันนี้ครูมีเว็บไซต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกมาฝากนักเรียน
ตามไปดูกันได้นะคะ
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
เทคนิคช่วยจำเรื่องเนื้อเยื่อพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก - ppt
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียง
มีภาพเคลื่อนไหว (animation) มาฝากด้วยนะคะ
เป็นการปิดเปิดของปากใบ ลองคลิกเข้าไปแล้วติดตามดูรายละเอียดใน clip กัน
http://www.tutorvista.com/content/biology/biology-iii/plant-histology/opening-closing-stoma.php